วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การ Undo และ Redo ใน ImageJ

จริง ๆ แล้ว การ Undo และ Redo ในตัว ImageJ นี้ อาจจะเป็นเงื่อนไขที่เราควรจะทราบในหัวข้อแรก ๆ เลยก็ว่าได้นะ เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ช่วยในการทำงานได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ในกรณีที่เรากำหนดค่าแล้วเกิดความผิดพลาดแล้วต้องการจะย้อนกลับไปตำแหน่งก่อนหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลง

การ Undo และ Redo ใน ImageJ นั้นโปรแกรมไม่ได้สำรองหน่วยความจำเอาไว้มากพอ เพื่อที่จะให้เราสามารถย้อนกลับไปได้หลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำค่อนข้างมาก ดังนั้นการ Undo หรือ Redo จึงจะได้ทำได้ในระยะสั้น ๆ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้งานด้วย

ImageJ ตั้งแต่ version 1.45 เป็นต้นมานั้น การ Undo สามารถที่จะนำไปใช้กับภาพ หลาย ๆ ภาพได้ ถ้ามีการกำหนดค่า (เช็คเครื่องหมายถูกต้องเอาไว้) Keep multiple undo buffers ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเมนู Edit->Options->Memory & Threads ...

ถ้าหากการทำงานเราไม่สามารถย้อนกลับมาตำแหน่งที่ถูกต้องได้เราสามารถรีเซ็ตค่าใหม่ได้จากการใช้เมนู File->Revert ภาพก็จะย้อนกลับไปในสถานะที่มีการบันทึกล่าสุด หรือเราสามารถเลือกตำแหน่งที่ต้องการได้ จากเมนู Edit->Selection->Restore Selection

การค้นหาคำสั่งใน ImageJ

บางครั้งการใช้งานโปรแกรม ImageJ เพื่อการประมวลผลภาพสักภาพนั้น เราอาจะมีการใช้ความสามารถของคำสั่งต่าง ๆ มากมายแต่หากว่าเราจำได้แค่บางส่วนของคำสั่ง หรือไม่แน่ใจคำสั่งจริงๆ แต่คุ้น ๆ ว่าจะมีคำสั่งแบบนี้แน่นอนแล้วนั้น เราสามารถใช้การค้นหาคำสั่งภายใน ImageJ เพื่อช่วยให้เราวิเคราะห์การใช้งานคำสั่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยส่วนที่เราจะสามารถหาคำสั่งได้มีในเมนูดังนี้

  1. Plugins->Utilities->Find Commands ...
  2. Plugins->Utilities->Search ...
โดยการค้นหาสามารถหาจากโค้ดโปรแกรม เนื่องจากส่วนอธิบายของโปรแกรม (Comment) ก็มีส่วนช่วยในการค้นหาเพื่อดูลักษณะการใช้งานโปรแกรมได้ค่อนข้างดี

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้ Keyboard Shortcuts ใน ImageJ

การใช้งาน ImageJ นั้นมีความจำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้การใช้งาน shortcut keys เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคีย์ลัดจะมีใช้งานอยู่ทุก ๆ เมนูของโปรแกรม เช่นเดียวกันกับบทความในบล็อคของผมนะครับก็จะได้แนะนำใช้คีย์ลัดอยู่เรื่อย ๆ

และควรจำไว้ด้วยนะครับว่า ตัวเล็กตัวใหญ่ตัวใหญ่จึงมีความสำคัญในการเรียกใช้ shortcut keys โดยคีย์ที่มีมักใช้งานสำหรับคีย์ลัดนั้นจะรวมเอาคีย์คอลโทรล Ctrl ร่วมเข้าไปด้วย แต่หากคีย์ตัวไหนเป็นตัวใหญ่ก็จะมี Shift ร่วมเข้าไปด้วย ตามแต่ละเมนู ซึ่งเราสามารถกำหนดให้มีการตรวจสอบคีย์ Ctrl ด้วยหรือไม่ก็ได้ รายละเอียด Shortcut keys  สำหรับ ImageJ สามารถตรวจสอบได้ที่เมนู Plugings->Utilities->List Shortcuts ...

คีย์ที่ใช้ใน ImageJ นั้นมี 3 อย่างดังนี้

Control หรือ Command key ในเครื่อง Apple ซึ่ง'Alt' หมายถึงปุ่ม Ctrl ซึ่งจะมีบนเครื่อง Macintoch ของ Apple เป็นปุ่ม สี่เหลี่ยมที่มีวงกลมที่มุมสี่ด้าน (Cmd) แทนปุ่ม Ctrl ของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ ไป ในบทความนี้จะใช้สัญลักษณ์ Ctrl เป็นหลักในการอ้างถึงการกดปุ่ม Control เกือบทั้งหมด

Shift ในเอกสารนี้ใช้สัญลักษณ์ 'Shift'

Alt ในเอกสานี้ใช้สัญลักษณ์ 'Alt' โดยทั่วไปแล้วจะใช้เป็น 'Option' หรือ 'Aleta' แต่ในเอกสารนี้จะใช้เป้นการพิมพ์ค่าอักษรที่มีความจำเพาะ เช่น 'Alt'+M หรือ 'Alt'+Shift+A เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้ mailing-lists สำหรับการถาม-ตอบของ ImageJ

หากมีคำถาม มีข้อสงสัยที่ต้องการใช้บริการ mailing-lists นั้น ImageJ มีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 200 คนที่มีไว้บริการผู้รับบริการทุกท่าน ทุกคำถาม ทุกหัวข้อ แต่ขั้นตอนก่อนจะถามปัญหาใด ๆ นั้นควรปฏิบัติดังนี้

  1. อ่านเนื้อหาไฟล์ที่อธิบายแต่ละส่วนให้ดีก่อนที่จะโพสคำถาม เนื่องจากว่าคำอธิบายบางส่วนหากเราอ่านไม่ละเอียดหรืออ่านให้ดีก่อน อาจจะเป็นการถามคำถามที่ไม่ใช่ปัญหาใหม่ ๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบความสามารถของโปรแกรมก่อน ได้จากเมนู Help->ImageJ News ...
  2. มองหาคำถามที่เคยมีคนถามไว้ก่อนแล้ว บางครั้งคำถามเหล่านั้นจะมีคนตอบเอาไว้แล้ด้วย ตรวจสอบได้จาก Help->Mailing Lists...
  3. ถ้าคุณมีบัก หรือมีปัญหาใหม่ ๆ  สำหรับให้มีการปรับปรุ่งใน ImageJ รุ่นล่าสุด (Help->Update ImageJ ...) คุณควรตรวจสอบและทดสอบการทำงานของจาวารุ่นล่าสุดก่อน หรือไม่ส่งปัญหาของคุณไปได้ที่ http://imagej.nih.gov/ij/docs/faqs.html#bug
  4. จำไว้ว่ากรณีส่วนมากแล้วสามารถหาคำตอบของปัญหาได้จาก ImageJ หลังจากที่ติดตั้งไปแล้วโดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถหาตัวอย่างการเขียน เช่น macros ได้ (ดู Finding Commands และ Extending ImageJ)
  5. ถ้าหากว่ามีปัญหาจริงๆ คุณต้องการส่ง mailing lists ควรปฏิบัติดังนี้
  1. ให้คำอธิบายที่หัวข้อ เช่น Re: Problem with Image->Set Scale command is much more effective than a general Re: Problem เป็นต้น
  2. หัวข้อ อย่าเพิ่งปิดคำถาม ให้ใช้สถานะ unrelated สำหรับ คำถามนั้น
  3. ระมัดระวังในการส่งไฟล์แนบ เช่นขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินไป หรืออาจจะใช้ file hosting server แทน
  4. แก้ไขการตอบกลับ ควรจะมีรายละเอียดของคำถามเล้กน้อย หรือใส่ไว้ในเครื่องหมายคำพูด เพื่อให้การตอบกลับ หรือการสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หวังว่าจะสนุกกับการรับบริการจาก ImageJ นะครับ

หากต้องการใช้งาน ImageJ จะได้รับบริการช่วยเหลือ (Help) ดีๆ จาก ImageJ ดังนี้

จากรายการด้านล่างเป็นรายการแหล่งให้ความช่วยเหลือในการใช้งาน ImageJ เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เป็นเอกสารให้ความรู้ที่ลึกตรงกับเนื้อหาหรือเรื่องที่ต้องการที่ใช้ใน ImageJ ประกอบด้วยเรื่อง macro programming, plugin development และอื่น ๆ มีหลายหัวข้อให้เลือกดูนะครับ ลองดูรายละเอียดตามด้านล่างเลย


  1. ImageJ online documentation page สามารถเลือกำได้จากเมนู Help->Documentation
  2. The Fiji webpage: http://fiji.sc/
  3. The ImageJ Information and Documentation Portal (Image wikipage): http://imagejdocu.tudor.lu/doku.php
  4. Video tutorials on the ImageJ Documentation Portal and the Fiji Youtube channel: http://imagejdocu.tutor.lu/doku.php?id=video:start&s[]=video และ http://www.youtube.com/user/fijichannel และนอกจากนี้ยังมีบริการที่ Christine Labno's video tutorial
  5. The ImageJ for Microsopy manual : http://www.macbiophotonics.ca/imagej/
  6. Several online documents, most of them listed at: http:///imagej.nih.gov/ij/links.html และ http://imagej.nih.gov/ij/docs/examples/
  7. Mailing lists:
  1. ImageJ -- http://imagej.nih.gov/ij/list.html
  2. Fiji users -- http://groups.google.com/group/fiji-users
  3. Fiji-devel -- http://groups.google.com/group/fiji-devel
  4. ImageJ-devel -- http://imagejdev.org/mailman/listinfo/imagej-devel
  5. Dedicated mailing lists for ImageJ related projects -- http://imagejdev.org/mailing-lists

จากตัวอย่างข้างต้นเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยให้สามารถใช้งาน ImageJ ได้อย่างเต็มความสามารถนะึครับ

ImageJ with Getting Help

การใช้เครื่องวิเคราะห์ภาพเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดก็จำเป็นต้องมีการเรียกใช้เครื่องมือความช่วยเหลือ หรือการใช้ Help ของ ImageJ นั่นเอง

หัวข้อของหลักการวิเคราะห์ภาพทางวิทยาศาสตร์

  1. Online learning Tool for Integrity and Image Processing เป็นเว็บที่พัฒนาโดย Office of Research Integrity อธิบายวิธีการประมวลผลภาพทางวิทยาศาสตร์
  2. Digital Image: Ethics (at the Cellular Imaging Farily Core, SEHSC) นอกจากเนื้อหาภายในเว้บแล้วยังมีเนื้อหาภายนอกอีกด้วยเช่น What's an picture? The temptation of image manipulation และ Not picture-perfect

การประมวลผลภาพทางด้านวิทยาศาสตร์
- What you need to know about scientific image processing
- imagingbook.com
- Hypermedia Image Processing Reference (HIPR2)
- IFN wikipage
- stereology.info

ในเรื่องนี้เป็นไกด์แนะนำแนวทางการหาข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ เลยไม่ได้ลงรายละเอียดเพิ่มลงไปมากนัก ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยจาก หัวข้อ (copy above text and search by google.com to get result)

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Do you know? ไม่ควรดื่มน้ำที่ต้มเดือดแล้วหลาย ๆ ครั้ง

ไม่ควรดื่มน้ำที่ต้มซ้ำหลาย ๆ ครั้งนะครับ อันตรายที่ อาจะมาพร้อมกับความความปลอดภัยที่เราคิดไปเอง เหตุผลมีดังนี้นะครับ เพราะว่าน้ำเป็นจำนวนมากจะระเหยกลายเป็นไอในขณะที่เราต้ม ส่วนที่เหลือเอาไว้ก็คือแร่ธาตุที่มีจุดเดือดสูงกกว่าน้ำ ก็จะสะสมกันและเข้มข้นมากเกินที่จะบริโภค โดยเฉพาะเด็ก ๆ นอกจานี้น้ำที่ต้มเดือดนาน ๆ ไอออนของซิลเวอร์ไนเตรทจะเปลี่ยนเป็นซิลเวอร์ไนโตรท์ ซึ่งให้โทษแก่ร่างกาย และแร่ธาตุที่มีโทษต่อร่างกาย ซึ่งเดิมีปริมาณไม่มากก็จะมีปริมาณมากเพิ่มขึ้น บ้านไหนเสียบกระติกต้มน้ำร้อนทิ้งเอาไว้ทั้งวัน ต้องหมั่นตรวจสอบและเปลี่ยนน้ำด้วยนะครับ

น้ำต้ม ขอบคุณภาพจาก gotoknow.org

ทำไมก่อนและระหว่างรับประทานอาหารจึงไม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ

หลายคนอาจจะชอบดื่มน้ำระหว่างรับประทาน แบบว่าว่าน้ำคำ ข้าวคำ แบบนี้นะครับ การทำแบบนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้นะครับ

เพราะน้ำจะทำให้น้ำย่อยอาหารเจือจางกรดเกลือในกระเพาะอาหารไม่สามารถฆ่าเซื้อแบคทีเรียได้ กระเพราะอาหารก็จะสูญเสียสภาพความเป็นกรดไป เอนไซม์ทำหน้าที่ย่อยอาหารได้ไม่เต็มที่ ทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนักขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำ่ก่อนและระหว่างการรับประทานอาหาร  ควารดื่มน้ำหลักอาหาร แต่ไม่ควรดื่มแบบทันที แต่ควรนั่งสักพักแล้วค่อยดื่ม จะช่วยให้น้ำย่อยทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นนะครับ

น้ำดื่ม ขอบคุณภาพจาก ku.ac.th

การเลือกกินอาหารของเด็กอาจทำให้สายตาสั้นได้

อันนี้มีสามเหตุมาจากเด็กที่มีนิสัยเลือกกิน ส่วนมากจะชอบขนมหวานและไข่มากกว่าอย่างอื่น ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลเข้าไปมากเกินไป ซึ่งมีผลทำให้การดูดซึมสารอาหารอื่นทำได้น้อยลง ทำให้ "โครเมี่ยม" และ "แคลเซียม" ซึ่งมีอยู่บริเวณตา มีปริมาณลดน้อยลงไม่เพียงพอกับความต้องการในการเจริญเติบโตของร่างกาย ส่งผลให้เด็กสายตาสั้นขึ้นเรื่อย ๆ

ขนมหวาน ขอบคุณภาพจากกรุงเทพธุรกิจ



วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ImageJ2 คืออะไร อะไรคือ ImageJ2

ImageJ2 เป็นชื่อเรียกรุ่นของ ImageJ หรือ ImageJ1 ที่เกิดจากทีม ImageJDev เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ ImageJ มีความสามารถมากยิ่งขึ้นโดยการนำ ImageJ มาเขียนใหม่ ประกอบด้วยฟังก์ชันเดิมที่ได้เขียนใหม่ให้มีความสมบูรณ์หรือมีความเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ร่วมทั้งส่วนของการเข้ากันได้ของ plugins และ macros ก็ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนกับ ImageJ ทำได้ สรุปโดยภาพรวมแล้ว ImageJ2 มีความสามารถหลากหลายซึ่งเกิดจากการพัฒนาจากทีม ImageJDev ซึ่งสรุปได้ดังนี้


  1. เพื่อสร้างรุ่นถัดไปของ ImageJ โดยยังคง ImageJ เป็นแกนหลักหรือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน โดยได้เพิ่มความสามารถเพิ่มเติมให้กับคนที่มีความต้องการใช้ ImageJ
  2. เพื่อยืนยันว่าชุมชนของ ImageJ ก็ยังคงสามารถอยู่ต่อไปได้และมีการใช้ประโยชน์ของ ImageJ อยู่ โดยไม่ได้ละทิ้งหรือรอเวลาหมดยุคของ ImageJ นั่นเอง
  3. อธิบายฟังก์ชันหรือเพิ่มเติมให้สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมที่มีในปัจจุบันได้
  4. เพื่อให้ ImageJ ได้รับการพัฒนาอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ลดผลกระทบซึ่งจะเกิดจากความซ้ำซ้อนของการพัฒนา
  5. เพื่อสร้างแหล่งทรัพยากรออนไลน์สำหรับ ImageJ: เช่นการดาวโหลดโปรแกรม การแจกจ่ายปลั๊กอิน (puglins) การพัฒนาทรัพยากรให้มีมากยิ่งขึ้น
เพื่อไม่ให้ตกข่าวการพัฒนา ImageJ2 สามารถติดตามเพิ่มข่าวสารได้จาก http://imagejdev.org/recent_changes  และบล็อกอัพเดตข่าวสารการพัฒนาโครงการได้จาก http://imagejdev.org/blog

จากแนวคิดก็ถือว่าเป็นเรื่องดีครับเพื่อจะได้มีไลบรารี่ดี ๆ ใช้งานกันต่อไปอย่างไม่มีข้อจำกัด และเป็นแหล่งศึกษาของผู้ต้องการฝึกหัดได้อีกมากมาย

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับ ImageJ


ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับ ImageJ ที่มีความสำคัญแยกออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

ซอฟร์แวร์ที่สร้างมาพร้อมกับ ImageJ
ประกอบด้วย
1. Bio7 เป็นการรวมเอาสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่ได้เน้นจุดเน้นไปที่พื้นที่การออกแบบที่แตกต่างและเป็นโมเดลที่ชัดเจน จุดเด่น ๆ ของ Bio7 การวิเคราะห์ทางสถิติ (ใช้ R) สถิติเกี่ยวกับระยะทาง การเชื่อมโยงที่รวดเร็วระหว่าง R และ Java สนับสนุนการใช้งาน BeanShell และ Groovy การวิเคราะห์ที่มีความ sensitivity รวมการทำงานกับตัวแก้ไข flowchart และสามารถสร้าง 3D OpenGL (Jogl) สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ RImageJ ในหัวข้อ ImageJ Interoperability

2. BoneJ เป็นการรวมเอาเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์แสง (small beam) และการวิเคราะห์รูปร่างกระดูก

uManager หรือ Micro-Manager เป็นซอฟต์แวร์แพ็คเก็คสำหรับควบคุมการวิเคราะห์แบบ microscopes แบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถคำนวณรูปแบบพื้นที่อย่างง่าย ๆ ได้ เช่น time-lapses การคำนวณแบบ multi-channel การคำนวณ z-stacks และการเปรียบเทียบ Micro-Manager สามารถทำงานกับภาพแบบ microscopes  เช่น scientific-grade camera และการกระจายจำนวนมากของข้อมูลใน microscope

3. MRI-CIA พัฒนาโดย Montpellier RIO Imaging facility (CNRS) สร้างเฟรมเวิกการวิเคราะห์ภาพ และมีตัวเสมือนของ interface ของ ImageJ's capabilities ซึ่งสามารถสร้างการประมวลผลได้ดีแอพพลิเคชั่นประกอบด้วยหัวข้อ การเปรียบเทียบ DNA, การประมวลผลภาพด้วยการค้นหาโปรตีนในเซลล์ การเปรียบเทียบความสว่างระหว่าง nuclei และ cytoplasm, การนับ nuclei บน channels ที่มีความแตกต่างกัน

4. ObjectJ เป็นการพัฒนาต่อยอดของ object-image สนับสนุนการทำงานแบบ graphical vector โดยผ่านการคำนวณแบบ manually หรือ cacro commands ด้วย ส่วนภาพที่มีสีที่มีความแตกต่างกันนั้นสามารถใช้สีห่อหุ้มก่อนการคำนวณได้หรือพูดง่ายๆ ก็คือสามารถปรับเปลี่ยนสีก่อนการคำนวณได้ผลลัพธ์สามารถจัดเรียงรหัสสี คุณภาพของสีด้วยการประมวลผลด้วย macro ได้

5. SalsaJ เป็นรูปแบบของนักเรียน นักศึกษา ที่มีความสนใจใช้ไลบรารี่เกี่ยวกับการประมวลผลภาพ ออกแบบมาใช้งานสำหรับ โครงการ EU-HOU เพื่อใช้สำหรับการศึกษาของดาราศาสตร์ในห้องเรียน SalsaJ ได้มีการแปลงให้อยู่ในรูปแบบของภาษาที่หลากหลาย เช่น English, French, Spanish, Italian, Polish, Greek, Portuguese, Swedish, Northern Sami, Arabic, Chinese





TrakEM2 เป็นโปรแกรมสำหรับ morphological data mining การประมวลผลแบบ 3D และ image stitching, registration, การแก้ไขและ anotation นอกจากนี้ยังมีการขยายไปกับ Fiji และ มีความสามารถดังนี้

3D modeling เป็นวัตถุ 3D ออกแบบด้วยลำดับภาพของโครงร่าง และโปรไฟล์ของรูปภาพ จาก สีผิว หรือ mesh สามารถสร้างเป็น 3D เสมือนได้

Relational modeling เป็นการอธิบายแผนที่ระหว่างวัตถุและลิงค์ สำหรับตัวอย่าง เช่น เซลล์ประสาทที่มีการเชื่อมต่อกันจำนวนมาก กับ synapses เป็นต้น



ซอฟต์แวร์อื่น ๆ กับ ImageJ

มีแพ็คเก็ตที่หลากหลายเกี่ยวกับ ImageJ ที่มีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น แอพพลิเคชั่น หรือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

Bitplane Imaris ImarisXT สามารถโหลดและประมวลผล ImageJ plugins สามารถประมวลผลร่วมกันได้ระหว่าง Imaris และ ImageJ

CellProfiler มีจุดเด่นที่ช่วยให้ ImageJ ทำงานได้บน CellProfiler pipeline

Icy เป็นไลบรารี่ของชุมโอเพ่นซอส เกี่ยวกับ bio-imageing และสามารถใช้งาน plugin ร่วมด้วยรับประกันแน่นอนว่าใช้ได้ 100%

Knime สนับสนุนการประมวลผลภาพแบบ nodes (KNIP) สนับสนุนการใช้งาน macro และ plugin ด้วย

Open Microscopy Environment เป็นชุดการทำงานกับ Bio Formats, VisBio และ OMERO ซึ่งได้รวมเอาไว้กับ ImageJ

RImageJ เป็นฟรีซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคำนวณทางด้านสถิติและกราฟิก เอกสารเกี่ยวกับ RImageJ สามารถหาได้จาก  http://cran.r-project.org/web/packages/RImageJ/RImageJ.pdf  ดูหัวข้อ Bio7 ที่พัฒนาจากความสามารถของ ImageJ

MIJ  หรือ Matlab-ImageJ เป็นตัวเชื่อมความสามารถระหว่างจาวาและแมทแล็บ (Java and Matlab) ซึ่งนับว่ามีความจำเป็นอย่างมากที่ช่วยให้ Matlab สามารถเรียกใช้งาน library ของ ImageJ ผ่าน Matlab ได้ ซึ่งไลบรารี่ของ Fiji เองก็มี Fiji.m ที่เป็นตัวอย่างการสร้างคอมโพเนน (Component) เอาไว้แล้วเรียนกใช้งานผ่าน Matlab นั้นเอง


วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มหาสารคาม - อุบลราชธานี

ครั้งนี้กับการเดินทางไปอุบลด้วยแท็บเล็ต เป็นการเดินทางที่รวดเร็วมาก 2.5 ชั่วโมง ปกติขับรถก็ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ออกจากบ้านประมาณ 6 โมงเช้า ถึงอุบลประมาณ 8.30 น. กับน้ำมัน 400 บาท (แก๊ซโซฮอล 91 ราคาตอนนั้นประมาณ 35.97 บาท) รถเก่าแต่คิดว่าประหยัดได้ใจอยู่นะ ^_^


ภารกิจตอนนี้เป็นภารกิจงานแต่ง เดินทางเป็นว่าเล่นเลย ตื่นเช้ามากก็ง่วงตลอดทางเลย

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รุ่นของการเผยแพร่ ImageJ (ImageJ Distribution)


เฉพาะ ImageJ เพียงอย่างเดียวคงไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ประสิทธิภาพอันสูงและทรงอำนาจก็จะมาจากคลังแห่งสมบัติจาก Plugins ซึ่งเป็นส่วนฟังก์ชันที่ทำงานเสริมเพิ่มเติมกับส่วนที่เป็นแกนหลัก ซึ่งมีอยู่มากเป็นร้อย เป็นพัน ที่เป้น plugins ฟรี ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก Help->Update ImageJ... หากไม่สามารถติดตั้งได้จากเมนูก็สามารถที่จะทำการติดตั้งเองตามคู่มือการติดตั้งที่มีมาให้

ImageJ add-ons (Plugins, Scripts และ Marcors) มีบริการอยู่หลากหลายแหล่งบริการ (ImageJ plugins page)

รายการด้านล่างนี้เป็นไลบรารี่ที่มีความเกี่ยวข้อง


อธิบายเกี่ยวกับการบริหารการปรับปรุงให้ ImageJ มีความสามารถมากขึ้น ถ้ามีความสนใจเกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต้องศึกษา Fiji เพื่อนำมาช่วยเสริมการทำงานซึ่งกันและกันให้ดียิ่งขึ้น

Fiji
Fiji (Fiji Is Just ImageJ -- Batteries included) เป็นอีกรุ่นหนึ่งของ ImageJ ด้วยภาษาจาวา (Java) , Java 3D และอีกหลาย ๆ ปลั๊กอิน ที่มีเมนูเชื่อมโยงกัน การเปรียบเทียบ Fiji กับ ImageJ คล้ายกับการเปรียบเทียบ Ubuntu กับ Linux จุดประสงค์หลักของ Fiji เพื่อช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ images registration, stitching, segmentation, feature extraction และ 3D visualization และอื่น ๆ อีกมากมาย  ซึ่ง Fiji มีหลาย ๆ สคริปภาษา (BeanScript, Clojure, Jython, Python, Ruby ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ Scripting in Other Languages) Fiji จะมีระบบ convenient updater ที่คอยตรวจสอบความเป็นปัจจุบนของไฟล์ เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัย Comprehensive documentation จะสามารถดูได้จากจากปลั๊กอินของสคริปนั้นๆ Fiji จะเปิดตัวในครั้งแรกที่ ImageJ User adn Develper Conference ในเดือน พฤศจิกายน 2008

MBF ImageJ
MBF ImageJ หรือ ImageJ for Microscopy (formerly WCIF-ImageJ) เป็นจุดเด่นของ plugins และ macros ซึ่งรวบรวมและพัฒนาโดย Tony Collins ที่ MacBiophotonics facility, MacMaster University มันจะมีคู่มืออธิบายการใช้งานกับ microsopy image มันเป็นไลบรารี่ที่มีความยิ่งใหญ่มากสำหรับ microscopists แต่ไม่ค่อยมีการปรับปรุ่งให้มีความใหม่หลังจากมีการพัฒนาแกนหลักของ ImageJ เพิ่มเติมขึ้น

แนะนำ คุณควารเพิ่มปลั๊กอิน จาก MBF ImageJ ไปที่ Fiji รวมกันเพื่อเป็นโปรแกรมที่ดี ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถใช้ multiple ImageJ รวมกันเพื่อการใช้งานที่ครอบคลุม

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การติดตั้ง ImageJ และการปรับปรุง ImageJ

ImageJ สามารถดาวโหลดได้จาก http://imagej.nih.gov/ij/download.html รายละเอียดการติดตั้ง ImageJ สำหรับ Linux, Mac OS 9, Mac OS X และ Windows สามารถอานได้ที่ http://imagej.nih.gov/ij/docs/install/ นอกจากนี้ยังมีหัวข้อพิเศษสำหรับการแก้ไขปัยหา และข้อปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ImageJ การติดตั้ง Fiji สามารถดูรายละเอียดการอธิบายได้ที่ http://fiji.sc/wiki/index.php/Downloads

การติดตั้ง ImageJ ในครั้งแรกนั้นจะเป็นเวอร์ชันที่ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นหลังจากติดตั้งเสร็จก็ควรจะมีการอัพเดตโดยคลิกที่เมนู Help->Update ImageJ..., ด้วยการติดตั้ง ij.jar เวอร์ชั่นล่าสุดในโฟลเดอร์ที่จัดเก็บ (Linux หรือ Windows) หรือใน ImageJ.app สำหรับ Max OS X

เมนู Help->Update ImageJ... สามารถช่วยการอับเดตเวอร์ชันของ ij.jar ที่ใหม่กว่าเพื่อให้ได้ไลบรารี่ที่เป็นปัจจุบันมากขึ้น หรือสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงได้ที่ IJ news website ในหัวข้อที่มีข้อความเขียนว่า v.1.43m เป็นต้น ปกติแล้วการอับเดตจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการการแก้ไขปัญหา และรายละเอียดต่าง ๆ อธิบายไว้ที่ ImageJ News page แต่จะยังไม่มีคู่มือมีมาให้พร้อม  แม้ว่าจะมีเวอร์ชันใหม่ ๆ อธิบายไว้ที่ http://imagej.nih.gov/ij/source/release-notes.html นั้นเวลาที่ครบรอบ (v.1.42 จบด้วย 1.42q, v.143 ด้วย 1.34u เป็นต้น) เมื่อการติดตั้งสำเร็จแล้ว สามารถดาวโหลดจาก http://imagej.nih.gov/ij/download.html ปกติแล้วแพ็คเก็ตจะสามารถเห็นจากคำอธิบายสั้นจาก add-ons (Macros, Scripts และ Plugins)



หน้า ImageJ News แสดงข่าวสารต่าง ๆ

แสดงหน้าต่างการดาวโหลด ImageJ

แสดงรายการ Plugins ที่มีมาใหม่และไลบรารี่เก่า ๆ ทำให้เลือกติดตั้งได้ง่ายขึ้น

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เริ่มต้นทำความรู้จักกับ ImageJ กันสักเล็กน้อย

ทำความรู้จักกับ ImageJ ก่อนสักเล็กน้อยนะครับก่อนที่จะเริ่มติดต้้ง ImageJ
การแก้ไขปัญหาและ การปรับปรุงหรืออัพเดตไลบรารี่
ไลบรารี่เสริมของ ImageJ ได้แก่ Fiji และ ImageJ2 มีคู่มือที่ช่วยสอนการทำงานให้กับผู้อ่านแต่ว่าไม่มีคู่มือเกี่ยวกับพื้นฐานของการะประมวลผลภาพ (Image processing)

มาดูว่า ImageJ คืออะไรสักหน่อยก่อนนะ
ImageJ เป็นชื่อกลาง ๆ ที่ใช้แทนการประมวลผลภาพของภาษาจาวา (Java) และการวิเคราะห์คล้ายกับ NIH Image ที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช ซึ่งสามารถทำงานได้บนระบบของ applet หรือดาวโหลดมาเป็นแอพพลิเคชั่นได้ ทำงานได้กับรันไทม์ Java 1.5 หรือที่ใหม่กว่า รุ่นของ ImageJ สามารถทำงานได้ทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) รวมทั้ง Mac OS X และ Linux มีความสามารถในการแสดงผลภาพ แก้ไข วิเคราะห์ ประมวล การบันทึก และการปริ้น ภาพ 8 บิต,  16 บิต และ 32 บิต สามารถอ่านรูปแบบไฟล์ได้หลากหลายเช่น TIFF, GIF, JPEG, BMP, DICOM, FITS และ raw สนับสนุนการทำงานแบบ stacks และ hiperstacks โดยใช้หน้าต่างการทำงานเพียงหน้าต่างเดียว มีการทำงานแบบมัลติเทรด (Multithreaded) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเวลาในการประมวลผล เช่น การอ่านไฟล์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีความสามารถในการคำนวณพื้นที่และพิกเซลของภาพจากการกำหนดจากผู้ใช้ และสามารถวัดระยะห่างและมุมได้ นอกจากนั้นยังสามารถสร้างฮิสโตรแกรม (Density histrogram) และ กราฟเส้นสกหรับภาพได้ สนับสนุนการประมวลผลภาพแบบพื้นฐานทั่วไป เช่น contrast manipulation, sharpening, smoothing, edge detection และ median filtering

ความสามารถในการย่อขายภาพในระดับ 1:32 ทั้งการซูมเข้าและการซูมออก ฟังก์ชั่นการวิเคราะห์ภาพที่หลากหลาย สามารถเปิดภาพได้พร้อมกันจำนวนมาก โดยมีข้อจำกัดจากหน่วยความจำในเครื่องที่สามารถเปิดได้

ImageJ เป็นการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมเปิด ด้วยส่วนเพิ่มเติมของจาวา ด้วยการพัฒนา มาโคร ในการทำงานได้ ด้วยการเขียนคำสั่งด้วยภาษาจาวา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับ ImageJ และตรวจสบความผิดพลาดของกรทำงานได้ด้วย

การทำให้ ImageJ ใช้งานอย่างเปิดเผย ด้วยความคิดที่สำคัญ 4 ประมาณ คือ (Richard Stallman in 1986)

  1. ความอิสระในการใช้โปรแกรมตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
  2. ความอิสระในการเรียนรู้ การทำงานของโปรแรกม และเปิดโอกาสให้เราสามารถสร้างงานให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง
  3. ความเป็นอิสระในการช่วยเหลือคนอื่น ๆ
  4. ความอิสระในการปรับปรุงโปรแกรมให้ดี และนำเผยแพร่ต่อสาธารณะ

ImageJ เริ่มต้นพัฒนาบน Mac OS X ด้วยโปรแรกม Editor และ Java และ BBEdit และ Ant build tool รหัสต้นฉบับหรือ source code เป็นของฟรี ดาวโหลดได้ที่ http://imagej.nih.gov/ij/developer/source/index.html ผู้เขียนได้แก่ Wayne Rasband (wsr@nih.gov) เป็นอาสาสมัครที่ National Institute of Mental Health, Bethesda Maryland, USA.

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวความเป็นมาของ ImageJ นะครับ โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้าวเป็นหญ้าหรือนี้ (คนกินหญ้านะสิ)

ตามความเข้าใจของเราหญ้านั้นต้องเป็นพืชสีเขียวและขึ้นเรี่ยๆ กับพื้นดิน แต่คุณจะทราบหรือไม่ว่ายังมีหญ้าอีหลายชนิดที่มีกิ่งก้านเติบใหญ่ สูงชะลูดก็มี และหญ้าบางอย่างเราก็รับประทานได้ด้วย เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต อ้อย ไผ่ เป็นต้น






ผมเองก็ปลูกหญ้า (ข้าว) และก็กินหญ้า (ข้าว) 555+++  ^_^

ภาวะน้ำเป็นพิษ เนื่องจากดื่มน้ำมาก และเร็วเกินไป

ภาวะน้ำเป็นพิษ หรือการดื่มน้ำที่มากและเร็วเกินไป หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะน้ำเกิน  เนื่องจากน้ำภายในและภายนอกเซลล์เกิดความไม่สมดุล ทำให้น้ำในเลือกมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด ทำให้ร่างกายขับแร่ธาตุโพแทสเซียมออกจากร่างกายเพื่อปรับสมดุลให้กับร่างกาย

ซึ่ง โพแทสซเซียม มีประโยชน์ สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตอาจป้องกันโรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ


ตัวอย่างผู้ป่วยที่มีอาการโพแทสเซียมในเลือดต่ำ http://www.doctor.or.th/clinic/detail/9339









ขอขอบคุณ หนังสือ: 123วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สัญชาตญาณของสัตว์

คนเราเองก็ัมักจะมีสัญชาตญาณของตัวเองเสมอ ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือการแสดงสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของตัวเองออกมา เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน หรือต้องการเอาตัวรอด เป็นต้น

สัตว์โดยทั่วไปเองก็น่าจะมีเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กหรือมีขนาดใหญ่ ก็ย่อมจะมีสิ่งเหล่านี้เช่นกัน ท่านคงคุ้นเคยกับสิ่งแปลกประหลาดที่แมลงทำขึ้นและเคยได้ยินถึงการจัดระบบสังคมที่ซับซ้อนของมด สิ่งก่อสร้างต่างๆ อันสลับซับซ้อนที่พวกมดสามารถสร้าสงได้ล้วนเป็นสิ่งที่อัศจรรย์ เพราะเมื่อเราพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้มิได้เป็นผลที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนก่อน เช่นเดียวกันกับแมงมุมที่รู้ว่าจะสร้างใยชนิดที่ถูกต้องสำหรับชนิดของตัวเองได้อย่างไร โดยมิได้เคยเห็นมาก่อนเลย ตัวอ่อนของตัวไหมสามารปั้นเส้นไหมซึ่งยาวกว่า 300 เมตรมาหุ้มตัวดักแด้โดยมิได้มีความชำนาญมาก่อนเลย เมื่อเราไม่สามารถอธิบายถึงการปฏิบัติตัวของสัตว์ เรามักจะกล่าวว่า "มันเป็นสัญชาติญาณของสัตว์"










ขอบคุณ หนังสือ: 123วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาการสะอึก เกิดจากอะไร และทำอย่างไรจึงจะหาย

อาการสะอึกนั้นเกิดจากสภาพร่างกายของคนเราขาดคาร์บอนไดออกไซด์ หรือปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ ร่างกายก็จะเกิดอาการสะอึกขึ้นมา วิธีการแก้ไขก็เพียงแต่ทำให้ร่างกายมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การกลั้นหายใจ การดื่มน้ำ และการหายใจเข้าออกในถุง เป็นต้น เท่านี้ก็ะช่วยให้อาการสะอึกหายไปแล้ว

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การจัดระเบียบความจำ

หลักของการจำนั้นสำคัญว่าเราต้องรู้จักปล่อยวางเพราะการปล่อยวางคือการทำให้จิตนิ่ง ปราศจากสิ่งรบกวนทำให้เราจัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย เมื่อต้องการที่จะจำสิ่งใดก่อนอื่นเราต้องทำจิตให้ว่า ด้วยการปล่อยวางสิ่งที่ผ่านไปแล้วให้ได้ก่อน แล้วจึงเลือกจำเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ด้วยการตั้งจิตให้ระลึกรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน แล้วปล่อยวาง เพื่อให้จิตนิ่งปราศจากสิ่งรบกวน แล้วความจำก็จะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบเมื่อถึงเวลาต้องนำมาใช้จะสามารถระลึกได้อย่างแม่นยำ ทันท่วงที


ขั้นตอนการจำ


  1. เคลียร์พื้นที่ ด้วยการวางสิ่งที่อนัตตา (อนัตตา-ความไม่มีตัวตน / อัตตา-ความมีความตัวตน) ไปแล้วให้ได้ก่อน
  2. คัดสรรข้อมูล ด้วยการเลือกจำเฉพะสิ่งที่จำเป็น
  3. จัดเก็บอย่างเป็นระบบ ด้วยการตั้งจิตให้นิ่งแล้วระลึกรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
  4. ล็อกกุญแจ ด้วยการปล่อยวางสิ่งที่เพิ่งระลึกรู้ไปไม่หวนกลับไปกังวลอีก
  5. นำออกมาใช้ได้อย่างเป็นระบบ เพราะทุกอย่างถูกเก็บรักษาไว้อย่างเป็นระเบียบ ด้วยจิตที่นิ่งและปล่อยวาง





ขอบคุณ: หนังสือพัฒนาจิตเพื่อชีวิตเป็นสุข

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

Sentence [ตอนที่ 4]

Sentence คือ ประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ หรือประโยคที่อ่านแล้วมีใจความชัดเจน ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของประโยค เพื่อให้ได้ใจความที่มีความสมบูณร์มากขึ้น

องค์ประกอบของประโยค
องค์ประกอบของประโยค ก็มีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแต่ละความต้องการในการใช้งาน ยกตัวอย่าง เช่น
1 ประโยคที่มี ประธานและกริยา แสดงได้ดังนี้

ภาคประธาน + ภาคแสดง (Subject + Verb)

เช่น The dog run. หมาวิ่ง เป็นต้น

2. ประโยคที่มี ประธาน กริยา และกรรม แสดงได้ดังนี้

ภาคประธาน + ภาคแสดง + กรรม (Subject + Verb + Object)

เช่น I had breakfast. ผมรับประทานข้าวเช้าแล้ว เป็นต้น

3. ประโยคที่มี ประธาน กริยา กรรม และ ส่วนเพิ่มเติม แสดงได้ดังนี้

ภาคประธาน + ภาคแสดง + กรรม + ส่วนเพิ่มเติม (Subject + Verb + Object + Complement)

เช่น She running to school. เธอกำลังวิ่งไปโรงเรียน เป็นต้น


คำที่สามารถนำมาเป็นประธานของประโยค และ กรรมของประโยค ได้นั้นแบ่งได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้
1. Noun (คำนาม)
The book is very good.
A dog run away.

2. Pronoun (คำสรรพนาม)
She is a teacher.
They can go to Bangkok.

3. Adjective (คำคุณศัพท์)
ทำหน้าที่เป็นคำนามด้วยการเติม The ไว้ข้างหน้าคำคุณศัพท์
The rich know how to earn.

4. Infinitive (to + Verb 1)
เป็นรูปแบบคำกริยาที่ขึ้นต้นด้วย to ก็สามารถทำหน้าที่แทนคำนามได้
To talk to you is very easy for me.

5. Gerund (Verb 1 + ing)
คำกริยาที่เติม ing สามารถเป็นประธาน หรือ กรรมของประโยคได้
Sleeping is on of the good ways to relax.

6. Phrase (วลี) วีลีหรือกลุ่มคำที่ขาดองค์ประกอบใดประกอบหนึ่งของประโยคไป ก็สามารถเป็นประธานหรือกรรมของประโยคได้
The way to success is not easy.

7. Clause (อนุประโยค) คือรูปแบบประโยคย่อยที่ไม่สามารถอยู่เดี่ยว ๆ ได้ แม้จะมีภาคประธาน หรือ กริยาในตัว เมื่อพูดแล้วไม่สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
What I'm trying to say is very complicated.

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Part of Speech คืออะไร [ตอนที่ 3]

Part of speech คือ คำที่ทุกคำที่ใช้ในประโยค ซึ่งล้วนถือว่าเป็นส่วนของประโยคหรือส่วนของคำพูด ทั้งหมด

คำต่าง  ๆ ที่แสดงในประโยคต่าง ๆ นั้นล้วนมีชื่อเรียก มีหน้าที่มีความหมายแตกต่างกันออกไป ส่วนประกอบต่าง ๆ ของประโยคแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด ดังนี้
  1. Noun  = คำนาม
  2. Pronoun = คำสรรพนาม
  3. verb = คำกริยา
  4. Adverb = คำกริยาวิเศษณ์
  5. Adjective = คำคุณศัพท์
  6. Preposition = ทำบุพบท
  7. Conjunction = คำสันธาน
  8. Interjection = คำอุทาน
หากกล่าวให้ละเอียดพอสังเขป คำทั้ง 8 ชนิดสามารถสรุปย่อ ๆ ได้ดังนี้

1. Noun หรือคำนาม
เป็นคำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คุณสมบัติ หรือคุณค่าต่าง ๆ เช่น
ชื่อคน : Tom, John เป็นต้น
ชื่อสัตว์ :Dog, Bat, Cat, Rat เป็นต้น
สิ่งของ : Table, Pen, Car, Book เป็นต้น
สถานที่ : Hospital, Post office, School เป็นต้น
คุณสมบัติหรือคุณค่า : Honesty, Wisdom, Truth เป็นต้น

2. Pronoun หรือคำสรรพนาม
เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำนาม แทนการเรียกคำนามแบบซ้ำ ๆ ทำให้รูปของประโยคไม่ต่อเนื่องและไม่ไพเราะ ตัวอย่างเช่น I, You, We, They, He, She, It เป็นต้น

3. Verb หรือคำกริยา
เป็นคำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่แสดงว่าทำอะไร เช่น Is, Have, Are, Read, Write เป็นต้น

4. Adverb หรือคำกริยาวิเศษณ์
เป็นคำที่ช่วยขยายกริยาว่าประธานของประโยคกำลังทำสิ่งนั้นด้วยลักษณะอย่างไร จะทำให้การอธิบายของกริยามีความชัดเจนขึ้น เช่น Badly เป็นต้น

5. Adjective หรือคำคุณศัพท์
เป็นคำที่ใช้ขยายคำนามให้มีความชัดเจนขึ้น เช่น Pretty เป็นต้น

6. Preposition หรือคำบุพบท
เป็นคำที่ใช้เชื่อมคำนามหรือสรรพนามเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ความหมายและรูปประโยคที่มีสวยงามมากยิ่งขึ้น เช่น is, on, to เป็นต้น

7. Conjunction หรือคำสันธาน
เป็นคำที่ใช้เชื่อมคำ หรือข้อความ (วลี) เข้าไว้ด้วยกัน เช่น And, Or, However เป็นต้น

8. Interjection หรือคำอุทาน
เป็นคำเดียว หรือประโยคก็ได้ ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้น เช่น (Form http://www.english-grammar-revolution.com/list-of-interjections.html)

A: aha, ahem, ahh, ahoy, alas, arg, aw
B: bam, bingo, blah, boo, bravo, brrr
C: cheers, congratulations
D: dang, drat, darn, duh
E: eek, eh, encore, eureka
F: fiddlesticks
G: gadzooks, gee, gee whiz, golly, goodbye, goodness, good grief, gosh
H: ha-ha, hallelujah, hello, hey, hmm, holy buckets, holy cow,

holy smokes, hot dog, huh?, humph, hurray
O: oh, oh dear, oh my, oh well, ooops, ouch, ow
P: phew, phooey, pooh, pow
R: rats
S: shh, shoo
T: thanks, there, tut-tut
U: uh-huh, uh-oh, ugh
W: wahoo, well, whoa, whoops, wow
Y: yeah, yes, yikes, yippee, yo, yuck

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สุดยอดโปรแกรมอ่าน Ebook ฟรี

ที่มาที่ไปที่ได้เจอโปรแกรมอ่าน Ebook ตัวนี้มีสาเหตุมาจากได้รับไฟล์อีบุค .epub มาไฟล์หนึ่งแต่หาโปรแกรมเปิดอ่านยังไม่ได้ก็สืบค้นไปมาจนเจอว่ามีโปรแกรม Sony Reader ที่สามารถอ่านได้ ก็เลยเป็นที่มาของการใช้งานเริ่มต้น โปรแกรมตัวนี้ นอกจากจะสามารถ import ebook เป็น gallery ได้แล้ว ยังสามารถฟังไฟล์เสียง ดูไฟล์ภาพ บอกสถานะการอ่าน บันทึกไฟล์ที่ชื่นชอบได้ สรุปแล้วว่าก็สะดวกดีไม่น้อย นอกจากนี้ยังสามารถ import ข้อมูลทั้ง folder เข้าไปได้ ซึ่งก็สะดวกดีที่โปรแกรมจะสามารถนำเข้าข้อมูล ebook ได้ในครั้งเดียว โดยที่เราไม่ต้องเลือกที่ละไฟล์ มาดูรายละเอียดคร่าว ๆ ของโปรแกรมได้เลย


Features Include
Cloud Sync - Access your reading position, bookmarks and highlights across mulipite devices
Bookshelf View -Group sorting, cover page zooming
Create Favorites -Tag and group your favorite eBooks
Direct Page Jump
Split Page View
Two Page View
Tab browse newspaper or magazine articles or sections
Reader™ Wi-Fi® support


PC System Requirements
Operating System
Microsoft Windows 7 (32-bit and 64-bit)
- Windows 7 Starter
- Windows 7 Home Basic
- Windows 7 Home Premium
- Windows 7 Professional
- Windows 7 Ultimate

Microsoft Windows Vista (32-bit and 64-bit)
- Windows Vista Home Basic with Service Pack 2 or later
- Windows Vista Home Premium with Service Pack 2 or later
- Windows Vista Business with Service Pack 2 or later
- Windows Vista Ultimate with Service Pack 2 or later

Microsoft Windows XP (32-bit only)
- Windows XP Home Edition with Service Pack 3 or later
- Windows XP Professional with Service Pack 3 or later
- Windows XP Media Center Edition 2004/2005 with Service Pack 3 or later

CPU
1 GHz Intel processor or better

RAM
128 MB or more (Minimum 512 MB for Windows 7 and Windows Vista)


Hard Disk Space
250 MB or more
The required free space depends on the total volume of content.

Display
24-bit (true color) or greater, 960 x 720 or higher screen resolution

Others
High Speed USB 2.0 port
Mouse or other pointing device

Notes:
An Internet connection (broadband recommended, some fees may apply) is also required.

Reader software does not support:
- Operating systems that are not listed above
- Customized (modified) operating systems and hardware
- Upgraded operating systems from pre-installs
- Multi-boot systems
- Multi-display systems

ตัวอย่างโปรแกรม


ที่มา
http://ebookstore.sony.com/download/


วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

การเปลี่ยนค่าใน class (กำหนดค่า css) ของ html ด้วย javascript


การเปลี่ยนค่า attribute ของ css ใน HTML ด้วยจาวาสคริป

หากเราต้องการแก้ไขค่า css ใน html ด้วยจาวาสริปแล้ว (javascript) เราก็สามารถทำได้โดยง่ายนะครับ  หากเราต้องการทำดังกล่าวสมารถ ทำได้ดังตัวอย่างคำสั่งต่อไปนี้นะครับ

document.getElementById("idElement").setAttribute("class", "className");

เมื่อ className หมายถึงการกำหนดคุณสมบัติใหม่ ๆ ใด ๆ ลงไป แทนคลาสเดิม

เช่นตัวอย่าง



[div id="myElement"]Welcome on my site![/div]
[a href="javascript:changeClass()"]Change Class[/a]
[script language="javascript"]
function changeClass(){
document.getElementById("idElement").setAttribute("class", "myClass");
}
[/script]


หมายเหตุ เปลี่ยน [  = <   และ ] = >


จากตัวอย่างจะมี tag อยู่ ซึ่งจะถูกควบคุมการแสดงผลด้วย class name ที่ชื่อว่า myElement คำสั่งของ javascript ด้านล่างจะเป็นการแสดงตัวอย่างการทำงานของการเปลี่ยนคลาสของ html (หรือส่วนของ css นั่นเอง) ในขณะที่กำลังทำงาน โดยไม่ต้อง refresh หน้าเว็บใหม่ โดยกำหนดให้การแสดงผลใหม่ถูกควบคุมด้วย class name ที่ชื่อว่า myClass

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

การเปรียบเทียบสระภาษาอังกฤษกับภาษาไทย [ตอนที่ 2]


การเปรียบเทียบสระภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
สระในภาษาอังกฤษนั้น ซึ่งได้แก่ a, e, i, o, u และ y นำมาเปรียบเทียบกับสระภาษาไทยได้ดังนี้
สระภาษาอังกฤษ
คำอ่าน
เทียบกับของไทย
ตัวอย่าง
a
เอ
เ-, แ-, -ะ, -า และสระออ
Gate
Gap
Grass
e
อี
เ-, สระอิ, สระอี
Pet
Reach
i
ไอ
สระอิ, สระอี, ไ-
Fire
Kind
Film
o
โอ
โ-, -อ
Bowl
u
ยู
สระอุ, สระอู
Fuel
y
วาย
ไ-, สระอิ, สระอี
Shy
lovely

พยัญชนะ และสระ สามารถเป็นพยัญชนะผสม หรือสระผสมก็ได้ ซึ่งจะได้ให้เสียงอ่านเปลี่ยนแปลงไปในบางคำ
พยัญชนะกล้ำ
พยัญชนะ
คำอ่านไทย
ตัวอย่าง
ch
ช, จ
Choose
-ng
Thing
-nk
งค์
Drink
sh
Short
qu
คว-
Queen
-ve
Wave
ph
Phase
th
ด, ธ
Thank
-ck
check

การผสมสระกับสระภาษาอังกฤษนั้นสามารถวางสระไว้หน้า หรือหลัง ของพยัญชนะก็ได้ ทำให้ได้เสียงอ่านที่แตกต่างกันออกไป
ตัวอย่าง เช่น a ไว้ข้างหน้า
คำศัพท์
คำอ่าน
Age
เอจ
At
แอท
Alarm
อะ-ลาร์ม
Answer
อาน-เซอะ

เมื่อวางสระ a ไว้กลาง หรือหลังพยัญชนะ
คำศัพท์
คำอ่าน
Sand
แซนด์
That
แดท
Shape
เชป
Crab
แคร็บ
Calendar
แคล-เลนเดอร์

ตัวอย่างการผสมสระตัวอื่น ๆ
คำศัพท์
คำอ่าน
Them
เธม
Each
อีช
Ear
เอีย
Meet
มีท
Item
ไอเท็ม
It
อิท
Hide
ไฮ
Thin
ธิน
Off
ออฟ
Together
ทู-เก็ต-เทอ
Sort
ช็อท
Unable
อัน-เอ-เบิล
Punish
พัน-นิช
unit
ยู-นิท