วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เมนู File with ImageJ [ตอนที่ 3], Raw, LUT, Text Image, Text File

Raw...



ใช้คำสั่งนี้ เพื่อนำเข้ารูปภาพ ที่ไม่ใช่รูปแบบไฟล์ที่ ImageJ สนับสนุนการทำงาน ผู้นำเข้าจำเป็นต้องแน่ใจในรูปแบบของข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปภาพ เช่น size, offset

ปกติแล้วภาพแบบ RGB จะมีค่า pixel ที่เก็บอย่างต่อเนื่องในรูปภาพ (rgbrgbrgb...) ในภาพแบบ plane เดียวในแนวราบ จะมี red green blue ที่เก็บเอาไว้แยกส่วน 8-bit ImageJ จะเก็บข้อมูลแบบบ RGB ทั้งแบบ TIFF และ raw

Image Type มีตัวเลือก 14 ตัวเลือก ภาพ 16-bit signed จะถูกแปลงเป็น unsigned และจะเพิ่มค่าเป็น 32,768 ภาพ 1-bit Bitmap จะถูกแปลงเป็น 8-bit

Image Width จำนวน pixel ในแต่ละแถวของภาพ

Image Height จำนวนแถวในภาพ

Offset to First Image จำนวน bytes ในไฟล์ ก่อน เป็น byte แรกของไฟล์ก่อนจะเป็นข้อมูลของภาพ

Number of Images จำนวนภาพที่เก็บในไฟล์ ถ้าค่ามากกว่าจำนวนภาพที่มีอยู่จริง ภาพจะตัดส่วนที่เกินออกไปให้เหลือเท่ากับจำนวนจริง

Gap Between Images จำนวนไบต์จากจุดสุดท้ายของภาพถึงส่วนเริ่มต้นใหม่ ค่ากำหนดเป็น width x height x bytes-per-pixel x n จำนวน n ภาพของแต่ละภาพ

White is Zero ใช้ในการตรวจสอบ black pixel ที่น้อยกว่าจำนวน white pixels  ถ้าภาพของคุณเป้นภาพแบบ negatives สามารถใช้ตัวเลือกนี้ในการ Fix ปัญหาได้

Open All Files in Folder ถ้าเลือกตัวเลือกนี้ ImageJ จะนำเข้าภาพใน folder เป็น stack ภาพทุกภาพจะมีขนาดและรูปแบบที่เหมือนกัน

Use Virtual Stack ภาพที่นำเข้าจะเป็น virtual stacks

LUT...

เปิดภาพแบบ NIH (image lookup table) หรือ raw lookup table ถ้าเป็น raw LUT จะต้องมี 768 bytes ประกอบด้วย 256 reds, 256blues, 256greens ถ้าไม่มีภาพที่จะเปิดได้ ขนาด 2536x32 จะถูกสร้างมาแทน รูปแบบภาพต้องมีไฟล์แบบ *.lut และสามารถเปิดโดยใช้ Open...[o] หรือ drag and drop

Text Image...

ข้อมูลแบบตัวอักษรที่เก็บแบบ tab-delimited เป็น 32bit ขนาดของภาพจะเกิดจากการ อ่านค่า width และ height จากไฟล์ สำหรับภาพที่มีค่ามากกว่า 255 ใช้ Image->Type->8-bit แปลงเป็น 8-bit

Text File...

ใช้เปิด text File หรือสามารถเปิดได้จาก File->Open...[o] หรือ drag and drop ก็ได้



การคัดลอกภาพจากไอพอด (iPod) ด้วย Picasa ระบบปฏิบัติการ Window

ความเดิมคือ ซื้อ iPod มาใหม่แต่ติดปัญหาว่าถ่ายรูปแล้วอยากเอาภาพออกจากเครื่อง แรกๆ มีภาพแค่ 5-10 ภาพ คัดลอกออกมาก็ไม่ใช่ปัญหาครับ  พอถ่ายภาพไปเพลิน ๆ เผลอไปอีกทีก็หลายร้อยภาพ พอจะคัดลอกออกมาแล้วก็ผิดพลาด ภาพมาไม่ครบบ้าง เกิดข้อผิดพลาดระหว่างคัดลอกบ้าง

ภาพนี้แสดงวิธีการคัดลอกผ่าน Window Explorer แล้วเกิดปัญหาคัดลอกมาไม่หมด



จากปัญหาดังกลาวผมก็ใช้วิธีส่งเข้าเมล์ แล้วไปเปิดเมล์แล้วโหลดที่เครื่อง PC แต่ก็ไม่ไหวครับเพราะว่าเน็ตก็ช้ามาก ปัญหานี้คาใจมานานมาก เขาบอกว่า iTunes สามารถคัดลอกได้แต่ก็ทำไม่สำเร็จสักที ไม่รู้ว่าทำอย่างไรเป็นปัญหาชีวิตต่อมาอีกหลายเดือน มาวันนี้ความรู้เพิ่งกระจ่าง มันคัดลอกจาก Picasa ก็ได้ มาดูเลยครับ

เริ่มจากติดตั้ง Picasa ดาวโหลดได้จากเว็บไซต์ด้านล่าง

https://picasa.google.com/

หลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เปิดโปรแกรม และเสียบ iPod ได้เลยครับ

1. คลิกที่ปุ่มนำเข้า



2. เลือกอุปกรณ์นำเข้าเป็น iPod


3. เลือกโฟลปลายทางที่จะจัดเก็บภาพ


4.  คลิกปุ่มนำเข้า สามารถนำเข้าทั้งหมด หรือเฉพาะภาพที่เลือก ก็ได้



เสร็จแล้วก็จะได้ภาพ มาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว






วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เมนู File with ImageJ [ตอนที่ 2], Import, Image Sequence

Import
เมนู Import มีเมนูย่อย ที่สามารถใช้งานนำเข้าไฟล์งาน ประกอบด้วยเมนูย่อยดังนี้



Image Sequence... เปิดไฟล์ภาพแบบเรียงลำดับด้วยการเลือกโฟลเดอร์ รูปภาพสามารถมีขนาดที่แตกต่างกันได้ และมีหลาย format ได้ที่สนับสนุนการทำงานของ ImageJ แต่ไม่สามารถเปิดไฟล์ที่ไม่ใช่รูปภาพก็ได้ เช่น *.lut, *.roi, RoiSet.zip เป็นต้น

รายละเอียดเกี่ยวกับ ขนาด Width x Height x depth สามารถดูได้จากด้านล่างของหน้าต่าง กล่องการตั้งค่าที่จะนำเข้ารูปภาพ

Number of Images กำหนดจำนวนภาพที่ต้องการจะเปิด

Starting Image กำหนดค่าที่จะเริ่มนำเข้ารูปภาพว่าจะให้เริ่มนำเข้าเริ่มจากภาพลำดับที่ไหร่

Increment ถ้ากำหนดเป็น '2' จะเปิดภาพทุก ๆ 2 ภาพ ถ้ากำหนด '3' ทุกๆ ภาพลำดับที่ 3 จะถูกเปิด

File Name Contains เปิดภาพด้วยการกำหนดข้อความที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อภาพ

Enter Pattern เป็นการกำหนด Regular expressions เพื่อเปิดไฟล์

Scale Images กำหนดค่าอย่างน้อย 100% เพื่อลดการใช้งานหน่วยความจำ ตัวอย่างการกำหนด 50 จะเป็นการลดการใช้หน่วยความจำ 25% (ภาพ 2 มิติ: 0.5 * 0.5 = 0.25 ของภาพต้นฉบับ) ค่านี้จะไม่ถูกใช้งานเมื่อมีการกำหนดใช้งาน Virtual Stack

Convert to RGB อนุญาตใช้ RGB และ Grayscale ในการเปิดภาพด้วยการแปลง เป็น RGB ถ้าไม่มีการกำหนดตัวเลือกนี้ถ้าภาพแรกที่นำเข้าเป็นภาพ 8-bit แล้วภาพที่เหลือจะถูกกำหนดเป็น 8-bit เช่นกัน

Sort Names Numerically เมื่อเลือกตัวเลือกนี้จะเปิดภาพในโหมดชื่อภาพเป็นการเรียงลำดับตัวเลข เช่น 'name1.tif', 'name2.tif', 'name10.tif' แทนการเรียงลำดับแบบตัวอักษรธรรมที่จะเป็น 'name1.tif', 'name10.tif', 'name2.tif' เป็นต้น  ไฟล์แบบ DICOM จะเรียงตามลำดับรายการ

Use Virtual Stack เมื่อเลือกตัวเลือกนี้ ภาพจะเปิดแบบอ่านอย่างเดียวอนุญาติไฟล์ที่ขนาดใหญ่ในการทำ stack เช่น raw แต่การประมวลผลอาจจะช้าและการเปลี่ยนแปลงอาจจะผิดพลาดหากมีการเปลี่ยนแปลงภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เมนู File with ImageJ [ตอนที่ 1] New, Open, Open Next, Open Sample, Open Resent

New
ประกอบด้วยคำสั่งในการสร้างไฟล์ภาพ, stacks, hyperstacks หรือ text windows


Image...[n] สร้างภาพใหม่หรือ stack จะมีหน้าต่างสำหรับการตั้งค่าโดยผู้ใช้งสามารถกำหนดเอง เช่น Image title  ชนิดของภาพ ขนาด และเนื้อหาเริ่มต้นของภาพ ส่วนของ
Name: เป็นข้อความที่เราต้องการให้แสดงบน title bar ของ window รูปภาพ
Type: กำหนดประเภทของภาพเช่น 8-bit grayscale, 16-bit grayscale (unsigned), 32-bit (float) grayscale or RGB
Fill With: กำหนดสีเร่ิมต้น ประกอบด้วย White, Black, Ramp (ไล่ลำดับสี)
Width: กำหนดขนาดความกว้าง
Height: กำหนดขนาดความสูง
Slices: สร้างจำนวน Stack

Hyperstack... ตัวแทนของคำสั่ง Image->Hyperstacks->New Hyperstack...

Text Window [N] สร้างหน้าต่างข้อความ ที่มี title bar เป็น 'Untitled.txt'

Internal Clipboard เปิดเนื้อหาที่เก็บไว้ที่ Clipboard ของโปรแกรม

System Clipboard [V] เปิดเนื้อหาที่เก็บเอาไว้ใน Clipboard ของระบบปฏิบัติการ


Open... [o]
ใช้สำหรับเปิดภาพและแสดงภาพนั้นในหน้าต่างที่แยกเป็นอิสระ ประเภทของรูปภาพควรอยู่ในรูปแบบ TIFF, GIF, JPEG, DICOM, BMP, PGM หรือ FITS หรือในรูปแบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมในรูปแบบอื่น ๆ เช่น
- ImageJ และ NIH Image lookup table (*.lut)
- Table (tab-delimited text format) (*.xls, *.csv)
- Selections (*.roi, *.zip)
- Text files (*.txt, *.ijm, *.js, *.java)

นอกจากเปิดไฟล์จากเมนูแล้วยังสามารถเปิดแบบ Drag and Drop ก็ได้

Open Next [O]
ปิดภาพปัจจุบัน และเปิดภาพต่อไป หากมีหลายไฟล์ ใน ไดเรกทอรีเดียวกัน กดปุ่ม Alt ค้างเอาไว้ สำหรับเปิดภาพก่อนหน้า (Previous) ในไดเรกทอรีเดียวกัน

Open Samples
เปิดตัวอย่างภาพจาก Web site ImageJ จากตัวอย่างนี้สามารถนำมา สร้าง ทดสอบ debugging macro โดยสามารถประมวลผลกับภาพเดิม และป้องกันการทำงาน macro ที่ผิดพลาดได้ เนื่องจากต้นฉบับเก็บเอาไว้ที่ Web site ImageJ

Open Recent
เมนูย่อยจะแสดงรายการไฟล์ที่เปิดล่าสุด 15 ไฟล์ คลิกที่ชื่อไฟล์เพื่อเปิด

Menu Commands with ImageJ

เมนูคำสั่งอธิบายตามส่วนประกอบของเมนูที่มีใน ImageJ แบ่งออกเป็น 8 เมนูดังนี้

File เป็นเมนูพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ เช่น Opening, saving, creating โดยส่วนมากแล้วตัวเมนูจะอธิบายค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว

Edit เป็นเมนูเกี่ยวกับการจัดการการวาด คำสั่งเกี่ยวกับการตั้งค่า

Image เป็นเมนูเกี่ยวกับการจัดการเปลี่ยนแปลงภาพ ประกอบด้วยคำสั่งเกี่ยวกับ geometric transformation

Processing การประมวลผลภาพ ประกอบด้วย point operation, filters and arithmetic operation

Analyze การวัดค่าทางสถิติ ข้อมูลภาพ ฮิสโตแกรม และคำสั่งอื่น ๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาพ

Plugins คำสั่งเกี่ยวกับการสร้าง แก้ไข และจัดการ add-ons (Extending ImageJ) ประกอบด้วยรายการ Macros ที่ผู้ใช้ได้ติดตรั้ง  Script และ Plugins ที่ติดตั้งเอาไว้ที่โฟลเดอร์ ImageJ/plugins

Window เลือกและจัดการเกี่ยวกับหน้าต่างที่ได้เปิดขึ้นมา

Help ช่วย Update ปรับปรุงรุ่น ImageJ รุ่นใหม่ ๆ คู่มือ และแหล่งดาวโหลดตัวอย่าง

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การคัดเลือกการแสดงผลสำหรับ ImageJ (Customizing the ImageJ Interface)

การตั้งค่าส่วนใหญ่จะมองภาพรวมของโปรแกรมลักษณะการใช้งานของโปรแกรม และสามารถเลือกได้จาก Edit->Option ซึ่งอาจจะมีหลายส่วนที่สามารถตั้งค่าได้ เช่น Edit->Options->Appearance... และ Edit->Options->Misc... (อาจจดูเพิ่มเติมในหัวข้อ Settings and Preferences) การกำหนดลักษณะของโปรแกรมจะเป็นลักษณะของเฉพาะตัวบุคคลได้เป็นอย่างดี

1. Floating Behavior of Main Window
สามารถกำหนดให้หน้าต่างหลักของ ImageJ วางไว้บนหน้าต่างโปรแกรมส่วนอื่นๆ โดยใช้ Javascript : IJ.getInstance().setAlwayOnTop(true);

การทดสอบ ให้คัดลอก คำสั่ง ไว้ที่ clipboard (หรือดาวโหลด Always_on_Top.js จาก http://imagej.nih.gov/ij/macros/js/Always_on_Top.js) เลือก ImageJ พิมพ์ Shift+V หรือ (File-New->System Clipboard [V]) หลักจากนั้น พิมพ์ Ctrl+J หรือ (Macros->Evaluate JavaScript [j]) ในการสร้าง Always on Top คำสั่งจะถูกบันทึกเก็บไว้ที่ โฟลเดอร์ plugins Always_on_Top.js และสามารถรัรน Help->Refresh Menu เพื่อเริ่มคำสั่งใหม่ได้ ตัวอย่างการทำ Alway on top

// These macros can be added to the ImageJ / macros / StartupMacros .txt file  -
in order to set the floating behavior of the ImageJ main window
// option 1) Run ImageJ / plugins / Always_on_Top .js command at launch , by  -
adding it to the " AutoRun " macro


macro " AutoRun " {
run (" Always on Top");
}


// option 2) Execute the script at launch , by adding it to " AutoRun "


macro " AutoRun " {
eval (" script ", "IJ. getInstance (). setAlwaysOnTop ( true )");
}



// option 3) Toggle the setAlwaysOnTop option using a shortcut , e.g., F1
var afloat ;


macro " Toggle AlwaysOnTop [F1]" {
booleans = newArray (" true ", " false ");
eval (" script ","IJ. getInstance (). setAlwaysOnTop ("+ booleans [ afloat ] +")");
afloat = ! afloat ;
}
47













ตัวอย่างการแก้ไข crosshair pointers ส่วนใหญ่จะมองบนภาพระดับเทา สามารถแทนที่ crosshair ที่เป็นตัวแสดงการชี้ตำแหน่งของเมาส์ ด้วยการบันทึกภาพชื่อ crosshair-cursor.gif ไว้ใน Folder ImageJ/images/.

2. Pointer

เมื่อเริ่มต้น ImageJ จะค้นหาภาพ GIF ชื่อ crosshair-cursor.gif ใน Folder ImageJ/images/ ถ้าเจอ ก็จะใช้ภาพนั้นเป็นตัวชี้เป้าของเมาส์แทนตัว default ของโปรแกรม (สัญลักษณ์ที่มาพร้อมโปรแกรม) และสามารถเปลี่ยนเป็นลูกศรด้วยการกำหนดค่า Use pointer cursor จากเมนู Edit->Options->Misc...






ขอบคุณตัวอย่างคำสั่งจาก ImageJ user Guide

Log Window with ImageJ

ใช้สำหรับแสดงรายอะเอียดเกี่ยวกับการประมวลผลการทำงานของโปรแกรม เนื่องจากการทำงานของ plugins และ macros นั้นจะมีการางรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานออกมาเรื่อย ๆ ผ่านทาง Log window ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงรายละเอียดการทำงานและ ผลลัพธ์การทำงานที่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด (error)

ถ้าหากมีรายการทำงานที่ผิดปกติก็สามารถตรวจสอบได้จากหน้าต่าง Debug mode ในเมนู Edit->Options->Misc... ในการแสดงข้อความ log window โดยเมื่อ ImageJ ออกจากโหมด debug หน้าต่าง Log window ก็จะปิดตามด้วย


Editor with ImageJ

เป็นส่วนของการใช้งานของ Macros, Scripts Plugins มีเมนูในการจัดการในหน้าต่าง Editor 5 เมนู คือ File, Edit, Macros และ Debug

File-> การจัดการพื้นฐานเกี่ยวกับไฟล์เช่น เปิด บันทึก พิมพ์ ตำแหน่งของการบันทึกล่าสุดจะถูกเก็บเอาไว้ที่ไฟล์ IJ_prefs.txt

Edit-> เหมือนกันกับ text editor ทั่วไป มีเมนูต่าง ๆ ดังนี้
Go to Line... Ctrl+L เลือกแสดงบรรทัดของคำสั่งได้
Zap Gremlins จะค้นหาและลบตัวอักษรที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ส่วนมากจะมาจากการคัดลอกคำสั่งมาวางใน Editor
Copy to Image Info คัดลอกข้อความไปเป็นส่วนหัวของไฟล์ภาพ ซึ่งสามารถดูได้จาก Image->Show Info... [i] ใช้ได้กับไฟล์ประเภท TIFF

Font-> เมนูประกอบไปด้วยการปรับแต่งแบบตัวอักษร

Macros-> ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการจัดการ Macros เช่น การรัน การติดตรั้ง
Run Macro [r] Ctrl+R  ใช้รันคำสั่ง Macro ในบรรทัดที่เลือก
Evaluate Line [y] Ctrl+Y  ใช้รันคำสั่งที่กำหนดเอาไว้
Abort Macro ออกจาก Macro
Install Macros [i] Ctrl+I เป็นการเพิ่ม Macro ที่อยู่ใน Editor ไปที่ Plugins->Macros submenu (Plugins-Help->Macro Functions)
Macro Function [M] Ctrl+Shift+M ใช้ในการเปิดฟังกชันการทำงาน (Help->Macro Functions...)
Function Finder... [F] Ctrl+Shift+F ค้นหาฟังก์ชันของ Macro หรือหาคำสั่งก็ได้ ฟังก์ชันจากอ่านจากไฟล์ functions.html ที่เก็บเอาไว้ที่โฟลเดอร์ของ Macro สามารถลบได้โดย Help->Update ImageJ คำสั่งทั้งหมดจะถูกปรับปรุงแไขเป็นเวอร์ชันใหม่
Evaluate JavaScript [j] Ctrl+J ทำงานกับ Javascript ในหน้าต่าง Editor สามารถรัน Macro ด้วย และไฟล์จะต้องลงท้ายด้วย .js

Debug-> ประกอบด้วยเมนู Debugging ต่าง ๆ ที่สามารถตรวจสอบการทำงานที่ถูกต้องของคำสั่งได้
Debug Macro [d] Ctrl+D เริ่มทำงานกับ Macro ในส่วนของ debug mode และเปิด Debug window ด้วยการแสดงหน่วยความจำที่ใช้ และเปิดภาพ ที่กำลังทำงาน และจบลงเมื่อคำสั่งสุดท้ายของ Macro จบลง
Step [e] Ctrl+E รันส่วนของคำสั่งที่เลือกเอาไว้ แสดงการเปลี่ยนแปลงของค่า ในตัวแปร
Trace [t] Ctrl+T รัน Macro แสดงชื่อและค่าของตัวแปร ในส่วน Debug window
Fast Trace [T] Ctrl+Shift+T คล้ายกับด้านบน แต่ทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากตัดบางขั้นตออออกไป
Run รันคำสั่ง Macro แบบปกติ และความเร็วปกติ คลายกับการใช้คำสั่ง Macros->Run Macro
Run to Insertion Point Ctrl+Shift+E เป็นการรันคำสั่งซึ่งกำหนดได้จากการคลิกเมาส์ในบรรทัดของคำสั่ง
Abort ยกเลิกการใช้งาน Debug mode

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Results table with ImageJ


เปิดได้จาก เมนู Analyze->Measurement หรือกดปุ่ม Ctrl+M



ค่าที่ใช้ในการวิเคราะห์หลายค่านั้นสามารถแสดงได้ดวย Result table เป็นมีเมนู 4 เมนู คือ File, Edit, Font และ Results และมีการกำหนดเมนูที่ใช้งานบ่อยและเป็นเมนูหลักสามารถเรียกใช้ได้ด้วยการคลิกขวาบนพื้นที่ Result table

File->Save As... นำค่าที่แสดงออกมาอยู่ในรูปแบบ tab-delimited หรือ comma-delimited ซึ่งเป็น text file และสามารถกำหนดค่าอื่น ๆ ได้จาก Results->Options...

File->Rename... เปลี่ยนชื่อตาราง เพราะว่า ผลลัพธ์ของ ImageJ การเปลี่ยนชื่อตารางจะทำให้มีความชัดเจนขึ้น

File->Duplicate ... สร้างตารางใหม่ด้วยข้อมูลเดียวกัน ในหน้าต่างที่ Duplicate จะไม่มีเมนู Reslults ในการใช้งาน

Font->  เป็นการตั้งค่าขนาดตัวอักษร

Results->Clear Results... เป็นตัวแทนเมนู Anayze->Clear Results

Result->Summarize... เป็นตัวแทนของเมนู Analyze->Summarize

Result->Distribution... เป็นตัวแทนของเมนู Analyze->Distribution...

Result->Set Measurements... เป็นตัวแทนของเมนู Analyze->Set Measurements...

Results->Options... เปิด Edit->Options->Input/Output ในการกำหนหัวตาราง นอกจากนี้ยังกำหนดประเภทไฟล์ได้เช่น .csv, .xls, .ods











Contextual Menu with ImageJ

จากหัวข้อของ macros และ เครื่องมือ macro ที่ได้พูดเกี่ยวกับไฟล์  StartupMacros.txt ที่มีหน้าที่ช่วยในการติดตั้งเครื่องมืออัตโนมัติ ในเมนู Plugins->Macros->submenu ตอนที่เปิดโปรแกรมขึ้นมานั้น

หัวข้อนี้จะได้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานไฟล์ StartupMacros.txt ในการติดตั้ง contextual (popup) เมนู ซึ่งจะแสดงผลเมื่อทำการคลิกขวาบนรูปภาพดังภาพประกอบด้านล่าง



macros อื่น ๆ หรือ กลุ่มเครื่องมือ (เช่น Magic Montage) สามารถนำมาแทนที่เมนูเดิมได้ ในกรณีนี้ จะทำการติดตั้งใหม่โดยใช้การแก้ไขจากข้อมูลเดิมคือ StartupMacros (ใช้ More Tools)

**อ่านเพิ่มเติมได้จากเอกสาร The ImageJ Macro Language -- Programmer's Reference Guide ซึ่งจะได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการ (http://imagej.nih.gov/ij/docs/macro_reference_guide.pdf)

เมนูนี้จะแสดงเมื่อผู้ใช้งานคลิกขวา (หรือ ctrl+click) บนรูปภาพ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ในส่วนของ Popup Menu ซึ่งประกอบไปด้วยชื่อและรายการตัวเลือกเมนู



ยกตัวอย่างการเพิ่มเมนูที่ Process->Subtract Background... จาก contextual สามารถเพิ่มเติมได้ที่การกำหนดของหัวข้อ PopUp Menu
*เครื่องหมาย "-" นั้นเป็นการกำหนดตัวแยกเมนูให้เป็นสัดส่วน (menu seperator bar)


หลังจากเลือกเมนู ตามเส้นสีส้มที่ได้แสดงเอาไว้จะได้ หน้าต่างการต่างค่า Subtract Background... ดังภาพด้านล่าง เพียงแค่ใส่ชื่อให้ตรงกับเมนูต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในตัวโปรแกรมแล้วนำมาทำ Contextual Menu เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้ง่ายนั้น การทำงานก็ไม่ต้องตั้งค่าอะไรมากเพียงแค่ระบุชื่อเมนูให้ถูกต้องเข้าไปในส่วนของ PopUp Menu เท่านี้โปรแกรมก็จะเรียกใช้งานอัตโนมัติให้เรียบร้อย