จริง ๆ แล้ว การ Undo และ Redo ในตัว ImageJ นี้ อาจจะเป็นเงื่อนไขที่เราควรจะทราบในหัวข้อแรก ๆ เลยก็ว่าได้นะ เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ช่วยในการทำงานได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ในกรณีที่เรากำหนดค่าแล้วเกิดความผิดพลาดแล้วต้องการจะย้อนกลับไปตำแหน่งก่อนหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลง
การ Undo และ Redo ใน ImageJ นั้นโปรแกรมไม่ได้สำรองหน่วยความจำเอาไว้มากพอ เพื่อที่จะให้เราสามารถย้อนกลับไปได้หลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำค่อนข้างมาก ดังนั้นการ Undo หรือ Redo จึงจะได้ทำได้ในระยะสั้น ๆ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้งานด้วย
ImageJ ตั้งแต่ version 1.45 เป็นต้นมานั้น การ Undo สามารถที่จะนำไปใช้กับภาพ หลาย ๆ ภาพได้ ถ้ามีการกำหนดค่า (เช็คเครื่องหมายถูกต้องเอาไว้) Keep multiple undo buffers ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเมนู Edit->Options->Memory & Threads ...
ถ้าหากการทำงานเราไม่สามารถย้อนกลับมาตำแหน่งที่ถูกต้องได้เราสามารถรีเซ็ตค่าใหม่ได้จากการใช้เมนู File->Revert ภาพก็จะย้อนกลับไปในสถานะที่มีการบันทึกล่าสุด หรือเราสามารถเลือกตำแหน่งที่ต้องการได้ จากเมนู Edit->Selection->Restore Selection
ImageJ คู่มือ ImageJ สอนการใช้งาน โปรแกรม ImageJ ภาษาไทย ที่ครบถ้วนที่สุด สำหรับต่อยอดเทคนิคการประมวลผลภาพ (Image Processing) ImageJ คืออะไร เป็นโปรแกรมประมวลผลภาพ อย่างไรที่นี้มีคำตอบ หากผิดพลาดประการใด ขออภัย ครับ
วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การค้นหาคำสั่งใน ImageJ
บางครั้งการใช้งานโปรแกรม ImageJ เพื่อการประมวลผลภาพสักภาพนั้น เราอาจะมีการใช้ความสามารถของคำสั่งต่าง ๆ มากมายแต่หากว่าเราจำได้แค่บางส่วนของคำสั่ง หรือไม่แน่ใจคำสั่งจริงๆ แต่คุ้น ๆ ว่าจะมีคำสั่งแบบนี้แน่นอนแล้วนั้น เราสามารถใช้การค้นหาคำสั่งภายใน ImageJ เพื่อช่วยให้เราวิเคราะห์การใช้งานคำสั่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยส่วนที่เราจะสามารถหาคำสั่งได้มีในเมนูดังนี้
- Plugins->Utilities->Find Commands ...
- Plugins->Utilities->Search ...
โดยการค้นหาสามารถหาจากโค้ดโปรแกรม เนื่องจากส่วนอธิบายของโปรแกรม (Comment) ก็มีส่วนช่วยในการค้นหาเพื่อดูลักษณะการใช้งานโปรแกรมได้ค่อนข้างดี
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การใช้ Keyboard Shortcuts ใน ImageJ
การใช้งาน ImageJ นั้นมีความจำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้การใช้งาน shortcut keys เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคีย์ลัดจะมีใช้งานอยู่ทุก ๆ เมนูของโปรแกรม เช่นเดียวกันกับบทความในบล็อคของผมนะครับก็จะได้แนะนำใช้คีย์ลัดอยู่เรื่อย ๆ
และควรจำไว้ด้วยนะครับว่า ตัวเล็กตัวใหญ่ตัวใหญ่จึงมีความสำคัญในการเรียกใช้ shortcut keys โดยคีย์ที่มีมักใช้งานสำหรับคีย์ลัดนั้นจะรวมเอาคีย์คอลโทรล Ctrl ร่วมเข้าไปด้วย แต่หากคีย์ตัวไหนเป็นตัวใหญ่ก็จะมี Shift ร่วมเข้าไปด้วย ตามแต่ละเมนู ซึ่งเราสามารถกำหนดให้มีการตรวจสอบคีย์ Ctrl ด้วยหรือไม่ก็ได้ รายละเอียด Shortcut keys สำหรับ ImageJ สามารถตรวจสอบได้ที่เมนู Plugings->Utilities->List Shortcuts ...
คีย์ที่ใช้ใน ImageJ นั้นมี 3 อย่างดังนี้
Control หรือ Command key ในเครื่อง Apple ซึ่ง'Alt' หมายถึงปุ่ม Ctrl ซึ่งจะมีบนเครื่อง Macintoch ของ Apple เป็นปุ่ม สี่เหลี่ยมที่มีวงกลมที่มุมสี่ด้าน (Cmd) แทนปุ่ม Ctrl ของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ ไป ในบทความนี้จะใช้สัญลักษณ์ Ctrl เป็นหลักในการอ้างถึงการกดปุ่ม Control เกือบทั้งหมด
Shift ในเอกสารนี้ใช้สัญลักษณ์ 'Shift'
Alt ในเอกสานี้ใช้สัญลักษณ์ 'Alt' โดยทั่วไปแล้วจะใช้เป็น 'Option' หรือ 'Aleta' แต่ในเอกสารนี้จะใช้เป้นการพิมพ์ค่าอักษรที่มีความจำเพาะ เช่น 'Alt'+M หรือ 'Alt'+Shift+A เป็นต้น
และควรจำไว้ด้วยนะครับว่า ตัวเล็กตัวใหญ่ตัวใหญ่จึงมีความสำคัญในการเรียกใช้ shortcut keys โดยคีย์ที่มีมักใช้งานสำหรับคีย์ลัดนั้นจะรวมเอาคีย์คอลโทรล Ctrl ร่วมเข้าไปด้วย แต่หากคีย์ตัวไหนเป็นตัวใหญ่ก็จะมี Shift ร่วมเข้าไปด้วย ตามแต่ละเมนู ซึ่งเราสามารถกำหนดให้มีการตรวจสอบคีย์ Ctrl ด้วยหรือไม่ก็ได้ รายละเอียด Shortcut keys สำหรับ ImageJ สามารถตรวจสอบได้ที่เมนู Plugings->Utilities->List Shortcuts ...
คีย์ที่ใช้ใน ImageJ นั้นมี 3 อย่างดังนี้
Control หรือ Command key ในเครื่อง Apple ซึ่ง'Alt' หมายถึงปุ่ม Ctrl ซึ่งจะมีบนเครื่อง Macintoch ของ Apple เป็นปุ่ม สี่เหลี่ยมที่มีวงกลมที่มุมสี่ด้าน (Cmd) แทนปุ่ม Ctrl ของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ ไป ในบทความนี้จะใช้สัญลักษณ์ Ctrl เป็นหลักในการอ้างถึงการกดปุ่ม Control เกือบทั้งหมด
Shift ในเอกสารนี้ใช้สัญลักษณ์ 'Shift'
Alt ในเอกสานี้ใช้สัญลักษณ์ 'Alt' โดยทั่วไปแล้วจะใช้เป็น 'Option' หรือ 'Aleta' แต่ในเอกสารนี้จะใช้เป้นการพิมพ์ค่าอักษรที่มีความจำเพาะ เช่น 'Alt'+M หรือ 'Alt'+Shift+A เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การใช้ mailing-lists สำหรับการถาม-ตอบของ ImageJ
หากมีคำถาม มีข้อสงสัยที่ต้องการใช้บริการ mailing-lists นั้น ImageJ มีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 200 คนที่มีไว้บริการผู้รับบริการทุกท่าน ทุกคำถาม ทุกหัวข้อ แต่ขั้นตอนก่อนจะถามปัญหาใด ๆ นั้นควรปฏิบัติดังนี้
หวังว่าจะสนุกกับการรับบริการจาก ImageJ นะครับ
- อ่านเนื้อหาไฟล์ที่อธิบายแต่ละส่วนให้ดีก่อนที่จะโพสคำถาม เนื่องจากว่าคำอธิบายบางส่วนหากเราอ่านไม่ละเอียดหรืออ่านให้ดีก่อน อาจจะเป็นการถามคำถามที่ไม่ใช่ปัญหาใหม่ ๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบความสามารถของโปรแกรมก่อน ได้จากเมนู Help->ImageJ News ...
- มองหาคำถามที่เคยมีคนถามไว้ก่อนแล้ว บางครั้งคำถามเหล่านั้นจะมีคนตอบเอาไว้แล้ด้วย ตรวจสอบได้จาก Help->Mailing Lists...
- ถ้าคุณมีบัก หรือมีปัญหาใหม่ ๆ สำหรับให้มีการปรับปรุ่งใน ImageJ รุ่นล่าสุด (Help->Update ImageJ ...) คุณควรตรวจสอบและทดสอบการทำงานของจาวารุ่นล่าสุดก่อน หรือไม่ส่งปัญหาของคุณไปได้ที่ http://imagej.nih.gov/ij/docs/faqs.html#bug
- จำไว้ว่ากรณีส่วนมากแล้วสามารถหาคำตอบของปัญหาได้จาก ImageJ หลังจากที่ติดตั้งไปแล้วโดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถหาตัวอย่างการเขียน เช่น macros ได้ (ดู Finding Commands และ Extending ImageJ)
- ถ้าหากว่ามีปัญหาจริงๆ คุณต้องการส่ง mailing lists ควรปฏิบัติดังนี้
- ให้คำอธิบายที่หัวข้อ เช่น Re: Problem with Image->Set Scale command is much more effective than a general Re: Problem เป็นต้น
- หัวข้อ อย่าเพิ่งปิดคำถาม ให้ใช้สถานะ unrelated สำหรับ คำถามนั้น
- ระมัดระวังในการส่งไฟล์แนบ เช่นขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินไป หรืออาจจะใช้ file hosting server แทน
- แก้ไขการตอบกลับ ควรจะมีรายละเอียดของคำถามเล้กน้อย หรือใส่ไว้ในเครื่องหมายคำพูด เพื่อให้การตอบกลับ หรือการสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หวังว่าจะสนุกกับการรับบริการจาก ImageJ นะครับ
หากต้องการใช้งาน ImageJ จะได้รับบริการช่วยเหลือ (Help) ดีๆ จาก ImageJ ดังนี้
จากรายการด้านล่างเป็นรายการแหล่งให้ความช่วยเหลือในการใช้งาน ImageJ เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เป็นเอกสารให้ความรู้ที่ลึกตรงกับเนื้อหาหรือเรื่องที่ต้องการที่ใช้ใน ImageJ ประกอบด้วยเรื่อง macro programming, plugin development และอื่น ๆ มีหลายหัวข้อให้เลือกดูนะครับ ลองดูรายละเอียดตามด้านล่างเลย
จากตัวอย่างข้างต้นเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยให้สามารถใช้งาน ImageJ ได้อย่างเต็มความสามารถนะึครับ
- ImageJ online documentation page สามารถเลือกำได้จากเมนู Help->Documentation
- The Fiji webpage: http://fiji.sc/
- The ImageJ Information and Documentation Portal (Image wikipage): http://imagejdocu.tudor.lu/doku.php
- Video tutorials on the ImageJ Documentation Portal and the Fiji Youtube channel: http://imagejdocu.tutor.lu/doku.php?id=video:start&s[]=video และ http://www.youtube.com/user/fijichannel และนอกจากนี้ยังมีบริการที่ Christine Labno's video tutorial
- The ImageJ for Microsopy manual : http://www.macbiophotonics.ca/imagej/
- Several online documents, most of them listed at: http:///imagej.nih.gov/ij/links.html และ http://imagej.nih.gov/ij/docs/examples/
- Mailing lists:
- ImageJ -- http://imagej.nih.gov/ij/list.html
- Fiji users -- http://groups.google.com/group/fiji-users
- Fiji-devel -- http://groups.google.com/group/fiji-devel
- ImageJ-devel -- http://imagejdev.org/mailman/listinfo/imagej-devel
- Dedicated mailing lists for ImageJ related projects -- http://imagejdev.org/mailing-lists
จากตัวอย่างข้างต้นเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยให้สามารถใช้งาน ImageJ ได้อย่างเต็มความสามารถนะึครับ
ImageJ with Getting Help
การใช้เครื่องวิเคราะห์ภาพเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดก็จำเป็นต้องมีการเรียกใช้เครื่องมือความช่วยเหลือ หรือการใช้ Help ของ ImageJ นั่นเอง
หัวข้อของหลักการวิเคราะห์ภาพทางวิทยาศาสตร์
หัวข้อของหลักการวิเคราะห์ภาพทางวิทยาศาสตร์
- Online learning Tool for Integrity and Image Processing เป็นเว็บที่พัฒนาโดย Office of Research Integrity อธิบายวิธีการประมวลผลภาพทางวิทยาศาสตร์
- Digital Image: Ethics (at the Cellular Imaging Farily Core, SEHSC) นอกจากเนื้อหาภายในเว้บแล้วยังมีเนื้อหาภายนอกอีกด้วยเช่น What's an picture? The temptation of image manipulation และ Not picture-perfect
การประมวลผลภาพทางด้านวิทยาศาสตร์
- What you need to know about scientific image processing
- imagingbook.com
- Hypermedia Image Processing Reference (HIPR2)
- IFN wikipage
- stereology.info
ในเรื่องนี้เป็นไกด์แนะนำแนวทางการหาข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ เลยไม่ได้ลงรายละเอียดเพิ่มลงไปมากนัก ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยจาก หัวข้อ (copy above text and search by google.com to get result)
วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Do you know? ไม่ควรดื่มน้ำที่ต้มเดือดแล้วหลาย ๆ ครั้ง
ไม่ควรดื่มน้ำที่ต้มซ้ำหลาย ๆ ครั้งนะครับ อันตรายที่ อาจะมาพร้อมกับความความปลอดภัยที่เราคิดไปเอง เหตุผลมีดังนี้นะครับ เพราะว่าน้ำเป็นจำนวนมากจะระเหยกลายเป็นไอในขณะที่เราต้ม ส่วนที่เหลือเอาไว้ก็คือแร่ธาตุที่มีจุดเดือดสูงกกว่าน้ำ ก็จะสะสมกันและเข้มข้นมากเกินที่จะบริโภค โดยเฉพาะเด็ก ๆ นอกจานี้น้ำที่ต้มเดือดนาน ๆ ไอออนของซิลเวอร์ไนเตรทจะเปลี่ยนเป็นซิลเวอร์ไนโตรท์ ซึ่งให้โทษแก่ร่างกาย และแร่ธาตุที่มีโทษต่อร่างกาย ซึ่งเดิมีปริมาณไม่มากก็จะมีปริมาณมากเพิ่มขึ้น บ้านไหนเสียบกระติกต้มน้ำร้อนทิ้งเอาไว้ทั้งวัน ต้องหมั่นตรวจสอบและเปลี่ยนน้ำด้วยนะครับ
น้ำต้ม ขอบคุณภาพจาก gotoknow.org |
ทำไมก่อนและระหว่างรับประทานอาหารจึงไม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ
หลายคนอาจจะชอบดื่มน้ำระหว่างรับประทาน แบบว่าว่าน้ำคำ ข้าวคำ แบบนี้นะครับ การทำแบบนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้นะครับ
เพราะน้ำจะทำให้น้ำย่อยอาหารเจือจางกรดเกลือในกระเพาะอาหารไม่สามารถฆ่าเซื้อแบคทีเรียได้ กระเพราะอาหารก็จะสูญเสียสภาพความเป็นกรดไป เอนไซม์ทำหน้าที่ย่อยอาหารได้ไม่เต็มที่ ทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนักขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำ่ก่อนและระหว่างการรับประทานอาหาร ควารดื่มน้ำหลักอาหาร แต่ไม่ควรดื่มแบบทันที แต่ควรนั่งสักพักแล้วค่อยดื่ม จะช่วยให้น้ำย่อยทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นนะครับ
เพราะน้ำจะทำให้น้ำย่อยอาหารเจือจางกรดเกลือในกระเพาะอาหารไม่สามารถฆ่าเซื้อแบคทีเรียได้ กระเพราะอาหารก็จะสูญเสียสภาพความเป็นกรดไป เอนไซม์ทำหน้าที่ย่อยอาหารได้ไม่เต็มที่ ทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนักขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำ่ก่อนและระหว่างการรับประทานอาหาร ควารดื่มน้ำหลักอาหาร แต่ไม่ควรดื่มแบบทันที แต่ควรนั่งสักพักแล้วค่อยดื่ม จะช่วยให้น้ำย่อยทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นนะครับ
น้ำดื่ม ขอบคุณภาพจาก ku.ac.th |
การเลือกกินอาหารของเด็กอาจทำให้สายตาสั้นได้
อันนี้มีสามเหตุมาจากเด็กที่มีนิสัยเลือกกิน ส่วนมากจะชอบขนมหวานและไข่มากกว่าอย่างอื่น ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลเข้าไปมากเกินไป ซึ่งมีผลทำให้การดูดซึมสารอาหารอื่นทำได้น้อยลง ทำให้ "โครเมี่ยม" และ "แคลเซียม" ซึ่งมีอยู่บริเวณตา มีปริมาณลดน้อยลงไม่เพียงพอกับความต้องการในการเจริญเติบโตของร่างกาย ส่งผลให้เด็กสายตาสั้นขึ้นเรื่อย ๆ
ขนมหวาน ขอบคุณภาพจากกรุงเทพธุรกิจ |
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ImageJ2 คืออะไร อะไรคือ ImageJ2
ImageJ2 เป็นชื่อเรียกรุ่นของ ImageJ หรือ ImageJ1 ที่เกิดจากทีม ImageJDev เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ ImageJ มีความสามารถมากยิ่งขึ้นโดยการนำ ImageJ มาเขียนใหม่ ประกอบด้วยฟังก์ชันเดิมที่ได้เขียนใหม่ให้มีความสมบูรณ์หรือมีความเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ร่วมทั้งส่วนของการเข้ากันได้ของ plugins และ macros ก็ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนกับ ImageJ ทำได้ สรุปโดยภาพรวมแล้ว ImageJ2 มีความสามารถหลากหลายซึ่งเกิดจากการพัฒนาจากทีม ImageJDev ซึ่งสรุปได้ดังนี้
- เพื่อสร้างรุ่นถัดไปของ ImageJ โดยยังคง ImageJ เป็นแกนหลักหรือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน โดยได้เพิ่มความสามารถเพิ่มเติมให้กับคนที่มีความต้องการใช้ ImageJ
- เพื่อยืนยันว่าชุมชนของ ImageJ ก็ยังคงสามารถอยู่ต่อไปได้และมีการใช้ประโยชน์ของ ImageJ อยู่ โดยไม่ได้ละทิ้งหรือรอเวลาหมดยุคของ ImageJ นั่นเอง
- อธิบายฟังก์ชันหรือเพิ่มเติมให้สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมที่มีในปัจจุบันได้
- เพื่อให้ ImageJ ได้รับการพัฒนาอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ลดผลกระทบซึ่งจะเกิดจากความซ้ำซ้อนของการพัฒนา
- เพื่อสร้างแหล่งทรัพยากรออนไลน์สำหรับ ImageJ: เช่นการดาวโหลดโปรแกรม การแจกจ่ายปลั๊กอิน (puglins) การพัฒนาทรัพยากรให้มีมากยิ่งขึ้น
เพื่อไม่ให้ตกข่าวการพัฒนา ImageJ2 สามารถติดตามเพิ่มข่าวสารได้จาก http://imagejdev.org/recent_changes และบล็อกอัพเดตข่าวสารการพัฒนาโครงการได้จาก http://imagejdev.org/blog
จากแนวคิดก็ถือว่าเป็นเรื่องดีครับเพื่อจะได้มีไลบรารี่ดี ๆ ใช้งานกันต่อไปอย่างไม่มีข้อจำกัด และเป็นแหล่งศึกษาของผู้ต้องการฝึกหัดได้อีกมากมาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)