วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมนู Edit with ImajgeJ [ตอนที่ 5], Specify, Straighten, To Bounding Box, Line to Area, Area to Line, Image to selection, Add to Manager

Specify...

เปิดหน้าต่างเพื่อกำหนดค่าสี่เหลี่ยม หรือ วงรี (เส้นแสดงการเลือก) ความกว้าง ความสูง และ ทิศทางของการเลือก X,Y coordinate คลิกที่ Oval สำหรับการสร้างการเลือกแบบวงรี  หรือคลิกที่ Centered สำหรับการเลือกค่า X,Y coordinate ตรงกลางการเลือก หากเป็นการกำหนดแบบอื่นจะเป็นการกำหนดที่ มุมบนซ้าย

คำสั่งนี้สามารถใช้งานได้จาก ROI Manager ก็ได้ สามารถเลือกได้จาก แถบเครื่องมือ More>>รายการเลือก



Straighten...

เป็นการเลือกภาพใหม่ ด้วยการเลือกด้วยเส้นหลังจากนั้นกำหนดขนาดของเส้น เมือใช้คำสั่ง Straighten กำหนดค่าขนาดของเส้นเรียบร้อยแล้วก็จะทำการ คัดลอกพื้นที่ตามเส้นที่วาด กลายเป็นภาพใหม่



To Bounding Box

เปลี่ยนการเลือกที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยมผืนป้า เป็น สีเหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก



Line to Area

แปลงการเลือกแบบเส้น เป็นการเลือกแบบพื้นที่ด้วยการขนายพื้นที่เลือก (ROI)




Area to Line

เปลี่ยนการเลือกแบบพื้นที่เป็นการเลือกแบบเส้น ดังภาพตัวอย่าง

Image to Selection...




การสร้างพื้นที่การเลือกด้วยรูปภาพ ซึ่งกำหนดเป็น Overlays สามารถเปลี่ยนตำแหน่งตามภาพได้ทุกจุด (ต้องเปิดภาพที่ต้องการทำเป็น Selection ขึ้นมาพร้อมกัน หลังจากนั้นก็เลือก  Image to Selection... ภาพที่ได้ก็สามารถปรับขนาดการเลืกได้ตามความเหมาะสม

Add to Manager [t]




เป็นการเพิ่ม พื้นที่การเลือกปัจจุบันไปที่ ROI Manager ถ้าไม่มีพื้นที่การเลือก หน้าต่าง ROI Manager จะถูกเปิดขึ้น

เมนู Edit with ImajgeJ [ตอนที่ 4], Create Selection, Properties, Rotate, Enlarge, Make Band

Create Selection 

สร้างพื้นที่การเลือกจากค่า thresholded หรือ มีลักษณะเหมือนกันกับ binary mask โดยลักษณะภาพที่ได้ต้องเป็นภาพขาวดำ หลังจากนั้นเลือกที่คำสั่ง ก็จะแสดงพื้นที่การเลือก ดังตัวอย่าง








Properties...




หน้าต่าง Properties... นี้อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนด พื้นที่สี (เส้นขอบ) และ ขนาดของความกว้างของเส้นที่เลือกได้ รวมทั้งสามารถเติมสีพื้นของพื้นที่การเลือกได้ด้วย แตตัวอย่างกำหนดค่าสีเริ่มต้น เช่น black blue cyan green magenta orange red white yellow สามารถกำหนดค่าเป็น textually เช่น #fc3356 ก็ได้

กำหนดความหนาของเส้นของ เป็น 0 นั้น จะมีขนาดเป็น 1 pixel

จากภาพกำหนดค่า เส้นขอบ = 10




Rotate...

การเลือกเครื่องมือการหมดด้วยการกำหนดค่าองศาที่ต้องการ  ค่าติลบจะหมุนย้อนเข็มนาฬิกา คำสั่งนี้สามารถสั่งด้วย command มาโคร RotateSelection



Enlarge...

พื้นพื้นที่ของการเลือก ด้วยการกำหนดค่า พิกเซล  หากกำหนดเป็นค่าลบ แทนที่จะขยายก็จะกลายเป็นการหดตัว คำสั่งสามารถรันผ่าน command มาโคร EnlargeSelection หรือ SrinkSelection แต่คำสั่งการหดตัวนั้นจะไม่สามารถใช้กับการเลือกแบบ polygonal จากขอบภาพ



Make Band...

กำหนดพื้นที่ด้วยการสร้างความหน้าของเส้นด้วยการกำหนดค่าตัวเลข




วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แก้ปัญหา Dreamweaver The following translators were not loaded due to errors:

The following translators were not loaded due to errors: xxxx

ปัญหาเกิดจากค่า Configuration  ของโปรแกรมมีความผิดพลาดทำให้การเปิดโปรแกรม ต้องแจ้งเตือนอยู่ตลอดไม่ว่าจะเป็นเวลาบันทึกงาน หรือเปิดงานขึ้นมาแก้ไขก็ตาม วิธีการนี้ลองแล้วใช้ได้กับปัญหาที่เจอนะครับ ลองทำตามดังนี้เลยครับ

1. เปิด หน้าต่าง Run ไปที่เมนู Start Menu -> Run   (หรือกดปุ่ม Window+R) 
2. พิมพ์ในช่อง Open ว่า %appdata%
3. กดปุ่ม OK



เข้าไปที่ Folder : ...\AppData\Roaming\Adobe\Dreamweaver (version)\en_US\  หลังจากนั้นผมลบ Folder Configuration ออกไปเลย เพราะเวลาเปิดโปรแกรมมาใหม่ Folder นี้ก็จะถูกสร้างขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากนั้นปัญหาการแจ้งเตือนนี้ก็หายไปครับ

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมนู Edit with ImageJ [ตอนที่ 3], Interpolate, Make Inverse, Create Mask

Interpolate

แปลงเส้นการเลือกปัจจุบันเป็นเส้นเลือกย่อยเพื่อให้เส้นมีความคมชัดขึ้นหรือลดลง โดยค่าตัวเลขจะแสดงความละเอียดในการเลือกเส้น (selection) ตัวเลือก Smooth ถ้ามีการเช็ค และจะมีผลต่อเครื่องมือการเลือกที่ใช้แบบ traced และ freehand





Make Inverse

สร้างเส้นการเลือกให้มีค่าตรงข้ามกับเส้นการเลือกเดิม (สังเกตเส้นสีแดงแสดงการเลือก)



Create Mask

สร้างภาพ 8-bit ที่เรียกว่า 'Mask' จะมีค่า 255 เป็นค่าที่อยู่ในของการเลือกและค่า 0 อยู่นอกส่วนของการเลือก ด้วยค่าเริ่มต้นของภาพแล้วจะสลับค่ากัน ดังนั้นค่าสีดำคือ 255 และ ค่าสีอื่น ๆ คือ 0






วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมนู Edit with ImageJ [ตอนที่ 2], Selection, Fit Spline, Fit Circle, Fit Ellipse

Selection

* ภาพจาก ImageJ manual

การจัดการกับพื้นการเลือก (ROI) นั้นสามารถปรับแก้ไขเพิ่มเติมได้หากเริ่มเลือกพื้นที่ด้วยเครื่องมือ Polygon แล้วสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบพื้นที่การเลือกให้เหมาะสมด้วยเครื่องมือของ Selection ซึ่งสามารถดูภาพประกอบด้วยล่างได้ ด้านซ้ายสุดคือภาพที่ได้วาดพื้นที่การเลือกเอาไว้ (Original) และภาพที่อยู่ถัดออกไปทางขวามือคือภาพที่เกิดจากการใช้คำสั่งต่าง ๆ เช่น Fit Spline, Fit Circle, Fit Ellipse, Convex Hull, Make Inverse, Create Mask, Area to Line, Make Band..., To Bounding Box

1. Select All [a]

สร้างพื้นที่การเลือกเป้นสี่เหลี่ยม มีขนาดเท่ากับรูปภาพ

2. Select None [A]

ยกเลิกพื้นที่การเลือกทั้งหมด

3. Restore Selection [E]

ย้อนกลับไปเลือกพื้นที่ตามที่ได้ยกเลิกครั้งล่าสุด ซึ่งจะแสดงในตำแหน่งเดิม พื้นที่การเลือกจะถูกบันทึกเมื่อ
- ลบพื้นที่การเลือกด้วยการคลิกบริเวณรอบนอกพื้นที่การเลือก
- วาดพื้นที่การเลือกใหม่
- เปลี่ยนภาพใหม่ขณะที่ยังมีพื้นที่การเลือก
- ปิดภาพที่ยังมีพื้นที่การเลือก
- ใช้คำสั่งลบ หรือ เปลี่ยนแปลงพื้นที่การเลือก

4. Fit Spline

ปรับพื้นที่ที่เลือกด้วย Polygon หรือ Polyline ให้กลายเป็น รูปทรงที่โค้งมน




5. Fit Circle

ปรับพื้นที่การเลือกให้เป็นวงกลม




6. Fit Ellipse

ปรับพื้นที่การเลือกให้เป็นวงรีในพื้นบริเวณเดิม





วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมนู Edit with ImageJ [ตอนที่ 1], Undo, Cut, Copy, Copy to System, Paste, Paste Control, Clear, Clear Outside, Draw, Invert

Edit

1. Undo [z]

การ Undo และ Redo ใน ImageJ


2. Cut [x]

เป็นการคัดลอกเนื้อหาปัจจุบันที่เลือกไปยังคลิปบอร์ด และเติมค่าตำแหน่งที่คัดลอกด้วยสี background ที่เลือกเอาไว้

3. Copy [c]

เป็นการคัดลอกเนื้อหาที่เลือกปัจจุบันไปยังคลิปบอร์ดของโปรแกรม ถ้าไม่มีการเลือกจะหมายถึงทั้งภาพ จำนวนภาพที่คัดลอกจะแสดงไว้ในส่วนของ Status bar

4. Copy to System

คัดลอกส่วนของเนื้อหาของภาพที่เลือกไปยังหน่วยความจำคลิปบอร์ดของระบบปฏิบัติการ

5. Paste [v]

แทรกเนื้อหาที่คัดลอกเอาไว้ในส่วนของคลิปบอร์ดกลาง หรือหน่วยความจำของระบบถ้าหน่วยความจำกลางว่าง ลงไปยังภาพที่เลือกเอาไว้ เมื่อวางภาพแล้วระบบจะแสดงกรอบการเลือกเอาไว้อัตโนมัติ เพื่อให้สามารถย้ายด้วยเมาส์ ไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องและเมื่อสิ้นสุดการวางแล้ว ก็สามารถใช้เมนู Edit->Undo [z] เพื่อยกเลิกการวางได้

6. Paste Control...



หลังจากวางแล้ว สามารถใช้ Paste Control ในการควบคุมภาพปัจจุบันด้วยการวางแทรกข้อมูลในแบบต่าง ๆ ได้ ไปยังภาพปลายทาง

ยกเว้นสำหรับ Blend และ Transparent การวางด้วยเครื่องมือ Paste Control จะเหมือนกับการวางของ Process->Image Caculator... ส่วนของ Blend นั้นจะเหมือนกับการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ใน Transparent นั้นค่า white/black pixel จะโปร่งใส และค่าสีอื่น ๆ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

7. Clear

เป็นการลบเนื้อหาของกรเลือกและแทนที่ด้วยภาพสี background color สามารถกดปุ่ม Backspace และ Del ซึ่งเป็นคีย์ลัดในการทำงานได้ สำหรับภาพแบบ Stack หน้าต่งจะแสดงสำหรับตัวเลือกและจะมีผลต่อภาพทั้งหมด ด้วยการกดปุ่ม Backspace

8. Clear Outside

ลบพื้นที่ภายนอกส่วนที่เลือกเพื่อให้เป็นสีของ background color

9. Fill [f]

เติมสี foreground ในส่วนที่เลือกเอาไว้ สำหรับภาพแบบ Stacks นั้นจะมีผลต่อทุกภาพ ด้วยการกดปุ่ม F

10. Draw [d]

วาดลายเส้นในส่วนของภาพที่เลือกโดยใช้สี foreground และเครื่องมือเส้น สี foreground และ background สามารถแกไขได้ที่ Edit->Options->Colors... และปรับเส้นด้วยเครื่องมือ Edit->Options->Line Width... หรือ ดับเบิลคลิกที่เครื่องมือ line เพื่อเปลี่ยนขนาดความหนาของเครื่องมือ

ส่วนของภาพ Stacks นั้นการวาดจะมีผลต่อทุกภาพ เลือกเครื่องมืดด้วยการกด D

11. Invert [I]

สร้างภาพตรงข้าม หรือภาพคล้าย negative ของภาพทั้งหมดหรือส่วนที่เลือก สำหรับภาพ 8-bit และ RGB ค่าน้อยสุด=0 และค่ามากสุด=255 โดยไม่สนใจมากน้อยสุดมากสุดของภาพ ส่วสนภาพ 16-bit และ 32-bit นั้นค่าน้อยสุดและค่ามากสุดจะมาจากภาพจริงๆ

เมนู File with ImageJ [ตอนนที่ 10], Page Setup, Print, Quit

Page Setup...

หน้าต่างการตั้งค่า Page Setup นี้จะอนุญาตให้สามารถควบคุมขนาดของการพิมพ์งาน และการตั้งค่าการพิมพ์อื่น ๆ ได้ ตามตัวเลือกตั้งนี้

Scale   ถ้าค่าน้อยกว่า 100% จะลดขนาดของการพิมพ์ภาพ และถ้ามากกว่า 100% จะเป็นการเพิ่มขนาดของการพิมพ์ ถ้ามีการกำหนดขนาดให้พอดี 100% พอดี จะมีค่าของ DPI เท่ากับ 72 pixel ซึ่งจะเป็นขนาดของภาพที่ไม่มีการซูม ขนาดของการพิพม์ภาพจะพิจารณาจากค่า Scale และค่าความสูงและความยาวของภาพในหน่วยของ pixel

Draw border  ถ้าเลือกตัวเลือกนี้จะ จะมีการพิมพ์ขอบของภาพขนาด 1 pixel

Center on page  ถ้าเลือกตัวเลือกนี้การพิมพ์ภาพจะอยู่ตรงกลางของหน้าเอกสารแทนที่จะอยู่มุมบนซ้าย

Print title จะเป็นการพิมพ์ชื่อของภาพอยู่ด้านบนของกระดาษ

Selection only เฉพาะส่วนที่เลือกที่ถูกพิมพ์ออกมา

Rotate 90  ถ้าเลือกตัวเลือกนี้ รูปภาพจะหมุน 90 องศา ไปทางซ้ายก่อนที่จะพิพม์

Print actual size  พิจารณาค่า DPI ของภาพ (ปกติ 72 เช่น Jpeg) ถ้าใช้ค่าสูงกว่าโดยเป็นค่าจะอยู่ในหน่วยของ inch ตั้งค่าได้ที่ Analyze->Set Scale... ในหน้าต่างการตั้งค่ากำหนดค่า Distance in Pixels เป็น 300 ค่า Known Distance เป็น 1 และค่า Unit of Length เป็น 'inch' จะได้ค่า DPI เป็นค่า 300

Print...[p]

ภาพที่ถูกเลือกไว้จะสามารถพิมพ์ออกมาได้ ขนาดของภาพที่พิมพ์ปกติจะคือส่วนที่แสดงบนหน้าจอ (ภาพที่ไม่ได้ซูมขยาย) สามารถใช้เมนู Page Setupo... ในการต้งค่าหรือลดค่าการขยายของภาพในการพิมพ์ได้ ภาพที่มีขนาดใหญ่จะถูกปรับขนาดให้พอดีในการพิมพ์ ค่าการ Overlays จะถูกฝั่งออกมาพร้อมกับการพิมพ์ด้วย

Quit

การออกจากโปรแกรมนี้จะแจ้งเตื่อนภาพที่ยังไม่ได้บันทึกก่อนจบโปรแกรมด้วย ดังนั้นก็สามารถบันทึกภาพได้ นอกจากนี้ยังสามารถออกจากโปรแกรมได้จากปุ่ม ปิด (close) ที่หน้าต่างของโปรแกรมได้

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมนู File with ImageJ [ตอนนที่ 9], FITS, LUT, Results, Selection, XY Coordinates

AVI...

เป็นการแยก stack หรือ hyperstack เป็นไฟล์ AVI โดยสามารถบันทึกไฟล์ได้ขนาดใหญ่ไม่เกิน 2G ถ้าเกินนั้นอาจจะเกิดข้อผิดพลาดในการบันทึกได้

Compression  JPEG, PNG หรือ Uncompressed ในเวอร์ชัน IJ 1.44 และหลังจากนี้ สามารถบันทึกเป็นแบบ Overlays ได้ โดยกำหนดเป็นแบบ JPEG และ PNG ส่วนค่า default จะเป็น JPEG

Frame กำหนดความถี่ของเฟรม ค่าที่เหมาะสมที่แนะนำสามารถอ่านได้จาก Image->Stacks->Tools->Aimation Options...[Alt/] และ Image->Properties...[P] ซึ่งเป็นค่าของเฟรมในหน่วย 'sec'

PNG...

บันทึกภาพที่แก้ไขเป็น PNG (Portable Network Graphics) ภาพทุกชนิดยกเว้น RGB จะถูกบันทึกเป็น 8-bit PNGs  ส่วน ภาพที่มีขนาด 16-bit จะถูกบันทึกเป็น 16-bit PNGs ภาพแบบ 8-bit ค่าที่บันทึกแบบ transparent (0-255, -1 for "none") สามารถกำหนดได้ที่ Edit->Option->Input/Output... การบันทึกภาพแบบ PNG จะมีคุณสมบัติ Overlays


FITS...

บันทึกภาพเป็น FITS (Flexible Image Transport System)


LUT...

บันทึกภาพแบบ table of file ไฟล์ขนาด 768 byte ประกอบด้วย 256red 256green และ 256blue

Results...

กำหนดค่าเนื้อหาของ 'Results' เป็นแบบ tab-delimited หรือ comma-delimited

Selection...

บันทึกรายการของเขตของไฟล์ โดยสามารถใช้การค้นคืนด้วยเมนู File->Open[o] ส่วนของภาพที่ถูกเลือก จะถูกบันทึกเป็น TIFF header (ค่า default)

XY Coordinates...

กำหนด XY coordinate โดยใช้ ROI ที่ถูกเลือก ให้เป็น 2 คอลัมน์ ตามแบบ tab-delimited ส่วนของ ROI สามารถค้นคืนด้วย List coordinate ที่เมนู Edit->Selection->Properties...[y]

เมนู File with ImageJ [ตอนที่ 8], Gif, Jpeg, Text Image, Zip, Raw Data

Gif...


บันทึกภาพปัจจุบันที่กำลังแก้ไขให้อยู่ในรูปแบบ GIF ถ้าหากเป็นไฟล์แบบ RGB จะถูกแปลงเป็น 8-bit color ก่อน ค่าที่ใช้ใน GIF จะเป็นค่าแบบ transparent (0-255) สามารถกำหนดค่าได้จาก Edit->Options->Input/Output... ข้อมูลภาพแบบ Stack จะถูกบันทึกให้อยู่ในรูปแบบ animated GIFs ใช้เมนู Image->Stacks->Tools->Animation Options...[Alt/] เพื่อกำหนด frame rate ส่วนตัวอย่างผลลัพธ์คลิกขวาแล้วเลือก play/pause เพื่อดูตัวอย่างได้


Jpeg...


เป็นการบันทึกปัจจุบันให้เป็นแบบ JPEG สามารถแก้ไข คุณภาพของภาพได้ ที่เมนู Edit->Options->Input/Output... โดยกำหนดคุณภาพของภาพได้จาก 0-100 ค่านี้จะแสดงบนแถบชื่อของหน้าต่างการตั้งค่า ค่าที่น้อยจะทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กแต่ว่าคุณภาพของภาพก็จะต่ำตามไปด้วย ส่วนค่าที่ถูกำหนดมาก ๆ จะทำให้ภาพมีขนาดพร้อมกับคุณภาพของภาพที่ดีมากขึ้นเช่นกัน ค่า color sub-sampling (สีใกล้เคียงบริเวณขอบรอยต่อของสี) จะไม่มีเมื่อตั้งค่าคุณภาพของภาพเป็น 100 ซึ่งค่ารอยต่อระหว่างสีจะลดลง ค่าเริ่มต้นค่า DPI ของ JPEG จะอยู่ที่ 72 ค่าที่มากขึ้น กำหนดในหน่วยของ นิ้ว (inch) กำหนดค่าได้ที่ Analyze->Set Scale...


Text Image...



บันทึกภาพปัจจุบันให้อยู่ในรูปแบบ spreadsheet แบบ tab-delimited ค่าถูกกำหนดให้อยู่ในรูปแบจำนวนเต็ม กำหนดค่าได้ที่ Analyze->Set Measurement... สำหรับภาพ RGB แต่ละพิกเซลจะถูกแปลงเป็นภาพระดับเทา โดยใช้ สูตร
gray = (red+green+blue)/3 หรือ
gray = 0.299 x red + 0.587 x green +0.114 x blue
ถ้าต้องการกำหนดค่า Weight RGB เป็น ภาพระดับเทา กำหนดเพิ่มเติมได้ที่ Edit->Options->Conversion




Zip...


บันทึกภาพปัจจุบัน หรือ stack เป็นไฟล์ TIFF อยู่ในรูปแบบการบีบอัด zip


Raw Data...


บันทึกภาพปัจจุบัน หรือ stack เป็น raw โดยไม่มี header
ภาพ 8-bit จะถูกบันทึกเป็น unsigned bytes ส่วน
ภาพ unsigned 16-bit จะถูกบันทึกเป็น unsigned shorts และ
ภาพ signed 16-bit (ตัวอย่าง File->Open Sample->CT (420k, 16-bit DICOM)) จะถูกบันทึกเป็นภาพ signed shorts
ภาพ 32-bit จะถูกบันทึกเป้น floats
ภาพ RGB จะถูกบันทึกเป็น three bytes per pixel (24-bit inteleaved)
ภาพ 16-bit, 32-bit (float) จะถูกบันทึกเป็น bit-endian

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมนู File with ImageJ [ตอนที่ 6], Close, Close All, Save

Close [w]

เป็นเมนูสำหรับปิดภาพที่ถูกเลือก

Close All

เป็นเมนูที่ปิดทุกภาพที่เปิด และมีหน้าต่างแสดงแจ้งเตือนให้บันทึกชิ้นงานหากยังไม่ได้บันทึก

Save [s]

บันทึกการเปลี่ยนแปลงไปยังภาพที่เลือก ในรูปแบบ TIFF ซึ่งเป็น รูปแบบค่า Default สำหรับ ImageJ สำหรับการบัรนทึกเฉพาะพื้นที่ที่เลือกนั้น จะสร้างกรอบสี่เหลี่ยม แสดงพื้นที่เลือก แล้วเลือก Image->Duplicate... [D] ซึ่งสามารถเรียกใช้คำสั่ง Save [s] หรือ File->Save As->Tiff... ก็ได้เนื่องจากเมนูที่ทำหน้าที่เหมือนกัน

เมนู File with ImageJ [ตอนที่ 7], Save As, Tiff, Gif, Jpeg

Save As

ใช้เมนูย่อยสำหรับบันทึกรูปภาพในรูปแบบ TIF, GIF, JPEG หรือ raw นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกผลลัพธ์ในรูปแบบ measurement results, lookup tables, selections และ selection XY coordinate

1. Tiff...

ในเมนูนี้จะเป็นการบันทึกภาพหรือ stact ให้อยู่ในรูปแบบ TIFF หรืออาจจะเลือกจากเมนู File->Save[s] ก็ได้ โดยรูปแบบ TIFF สนับสนุนการทำงานในรูปแบบ 8-bit, 16-bit, 32-bit และ RGB และเป็นรูปแบบเดียวที่บันทึกแบบ spatial และ density ได้


2. Gif...
เป็นการบันทึกภาพปัจจุบันให้อยู่ในรูปแบบ GIF ถ้าเป็น RGB จะถูกแปลงเป็นภาพสีแบบ 8-bit ก่อน ด้วยคำสั่ง Image->Tyle->8-bit Color ค่าสีจะอยู่ในฃ่งะหว่างค่า (0-255) สามารถกำหนดค่าได้จาก Edit->Options->nput/Output  ภาพแบบ stack สามารถบันทึกแบบ Image animation โดยใช้เมนู Image->Stacks->Tools->Animation Options  [Alt/] หรือคลิกขวาบนไอคอนเล่นหยุด

3. Jpeg...

เป็นการบันทึกภาพปัจจุบันให้อยู่ในรูปแบบ JPEG โดยสามารถแก้ไขค่า Quality ได้จากเมนู Edit->Options->Input/Output... สามารถกำหนดระดับคุณภาพของภาพได้ (0-100) โดยค่านี้จะแสดงบนหัวหน้าต่าง
Lower จะเป็นระดับคุณภาพที่่ทำให้ขนาดของภาพมีขนาดเล็กลง
Larger จะมีคุณภาพของภาพที่ดีแต่ก็มาพร้อมกับขนาดไฟล์ที่ใหญ่

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมนู File with ImageJ [ตอนที่ 5], TIFF virtual stack, AVI, XY coordinates

TIFF virtual stack...

สำหรับเปิดไฟล์ TIFF เป็น virtual stack


AVI...

ImageJ มี plugin สำหรับอ่านไฟล์ AVI ชนิดที่เป็น JPEG หรือ PNG compressed และ uncompressed โดยการอ่นไฟล์จะอยู่ในรูปแบบของ virtual stack

โดยสามารถเปิดไฟล์ได้จาก File->Open... หรือลากไฟล์ AVI มาวางทับในหน้าต่างโปรแกรมก็ได้ รูปแบบของ AVI ที่สามารถเปิดได้ ค่อนข้างจำกัด โดยสามารถทำงานร่วมกับการเข้ารหัสวีดีโอแบบ MJPG (motion-JPEG) และ YUV 4:2:2/4:2:0  MSRLE และ MSV1 เป็นต้น

สำหรับตัวเลือกในหน้าต่างของการนำเข้าวีดีโอนั้น สามารถเลือกได้ว่าจะนำเข้าภาพแบบ 8-บิต ภาพระดับเทา หรือ จะ Flip vertical หรือไม่ นอกจากนี้หากต้องการเฟรมภาพทั้งหมดก็ให้ใส่เลข 0 ที่ช่อง Last frame และหากต้องการถึงภาพรองสุดท้ายก็ใส่ -1 ลงนั้นเอง


XY coordinates

สามารถนำเข้า text file แบบ 2 คอลัมน์ก็ได้ เช่นไฟล์ที่สร้างมาจาก File->Save as->XY coordinate

เมนู File with ImageJ [ตอนที่ 4], URL, Result

URL...

เป็นการดาวโหลดภาพและแสดงภาพตามที่โปรแกรม ImageJ สามารถเปิดได้ด้วย URL ส่วน URL ที่ลงท้ายด้วย "/" หรือ ".html"  จะเปิดด้วยบราวเซอร์ที่ถูกำหนดเอาไว้เป็นค่าเริ่มต้นของระบบ URL ที่ได้กรอกลงไปจะถูกบันทึกเอาไว้ในส่วนของ preference ของ ImageJ และสามารถค้นค้นได้จากโปรแกรมหลังจากที่ปิดและเปิดขึ้นมาใหม่

นอกจากนี้ใช้เปิดไฟล์ zip ได้ด้วย โดยใช้ URL ที่ประกอบด้วย DICOM Image และ URL ประเภทอื่น ๆ เช่น

– http://imagej.nih.gov/ij/images/ct.dcm
– file:///Macintosh HD/images/Nanoprobes.tif
– file:///D:images\neuron.tif
– http://imagej.nih.gov/ij/ (opens the ImageJ website)


Result...

เป็นการเปิด ImageJ ด้วยตารางข้อมูลที่สนับสนุนการทำงาน หรือเป็นประเภทไฟล์ที่คั่นด้วยเครื่องหมาย คอมมา คั่น เช่นไฟล์ .csv และ .xls นอนจากนี้ยังสามารถเปิดด้วยการลกวางในโปรแกรมก็ได้

Stack from List ...

ในการเป็น stack หรือ virtual stack จาก text file หรือ URL จะประกอบด้วย ลำดับรายการ พาธของไฟล์ (file path)  รูปภาพสามารถจัดเก็บเอาไว้คนละโฟลเดอร์ได้ และต้องมีขนาดไฟล์และประเภทของไฟล์ที่เหมือนกัน ในส่วนของ Virtual stack from List