วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Discreate และ Continuous Data

ด้วยความสับสนเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นเป็นข้อมูลต่อเนื่อง หรือไม่ต่อเนื่อง เลยลองหาคำตอบ และได้คำตอบประมาณนี้คือ

ชุดข้อมูลแบบตัวเลขสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ discrete และ continuous

Discrete

ชนิดข้อมูลที่เป็นแบบไม่ต่อเนื่องปกติชุดข้อมูลจะเป็นแบบจำกัด หรือ มีจำนวนห่างของช่องวห่างระหว่างชุดข้อมูลที่คงที่


ตัวอย่าง มีคำถาม 5 ข้อในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ ตัวเลือกที่ถูกต้องของคำตามในการตอบคำถามของนักเรียนเป็นข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง คือ ตัวเลขของคำตอบที่ถูกต้องที่เป็นไปได้ประกอบด้วย : 0, 1, 2, 3, 4, หรือ 5 เป็นค่าที่มีขอบเขต ดังนั้นถ้าต้องการที่วาดตัวเลขลงบนเส้นจำนวน ก็สามารถวาดระยะห่างระหว่างตัวเลขได้อย่างคงที่


ตัวอย่าง ในการสอบใบขับขี่ของ Las Vegas กับจำนวนคนที่สอบผ่านในแต่ละเมือง ถามว่าจำนวนครั้งที่แต่ละคนมาสอบเพื่อให้ผ่านและได้รับใบขับขี่เป้นกี่ครั้ง 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือมากกว่านั้น ดั้งนั้นจำนวนที่เป็นไปได้คือ 1, 2, 3, … ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่มีขอบเขต แต่เป็นระบบตัวเลขที่มีระยะห่างที่แน่ระหว่างตัวเลข เวลาเขียนลงบนเส้นจำนวนก็สามารถทำได้เช่นกัน ก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่องด้วย


ข้อมูลไม่ต่อเนื่อง ปกติแล้วจะมองในค่าของบตัวเลข หรือการนับบางสิ่งที่สามารถใช้ตัวเลขแทนได้


Continuous data

มักจะกล่าวถึงส่วนที่เหลือจากตัวเลขปกติ เช่น ทศนิยม หรือเป็นตัวเลขเกี่ยวกับการประมาณค่าทางด้านกายภาพ


ตัวอย่าง ความสูงของต้นไม้เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบต่อเนื่อง ซึ่งสามารถเป็นไปได้ว่าต้นไม้จะสูงครั้งละ 76.2"  หรือ ประมาณ 76.29 หรือประมาณ 76.2914563782  คุณเชื่อได้หรือไม่ว่ามันจะสูงเท่าไหร่ เป็นไปได้ว่าขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ในการวัดก็ได้


มีทางเดียวที่จะบอกว่าเป็นข้อมูลแบบต่อเนื่องหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า เป็นไปได้ไหมที่ตัวเลขที่จะเขียนจะต้องติดเศษส่วน หรือทศนิยมด้วย ถ้าใช่ ข้อมูลนั้นจะเป็นข้อมูลแบบต่อเนื่อง


ตัวอย่าง ความยาวของอายุการใช้งานของหลอดไฟ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของข้อมูลแบบต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นได้ว่าอายุการใช้งานของหลอดไฟจะเป็น 800 hours? หรือประมาณ 800.7? หรือประมาณ 800.7354? เพราะบางครั้งอายุของหลอดไฟก็ไม่ได้ 800 hours ตรง ๆ แต่อาจจะมี มากกว่า หรือน้อยกว่าได้ และมากกว่า หรือน้อยกว่าเท่าไหร่ก็ยากต่อการบอกเป็นค่าตัวเลข ก็ถือว่าข้อมูลแบบนี้เป็นข้อมุลแบบต่อเนื่องด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น